นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)เปิดเผยผล การหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยและสมาคมประกันชีวิตไทยว่า ได้วางมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในหลาย จังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2554 พบว่ามีผู้เสียชีวิต 307 ราย และสูญหาย 3 คน โดยได้รับแจ้งในเบื้องต้นว่ามีการทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุ ส่วนบุคคลจำนวน 40 ราย รวมค่าสินไหมทดแทน จำนวน 10,791,103 บาท
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมและบางแห่งที่ อยู่ในภาวะเสี่ยงภัยรวม 7 นิคมอุตสาหกรรม สำนักงาน คปภ.ได้สำรวจข้อมูลการทำประกันภัย ดังนี้
นิคมอุตสาหกรรม จังหวัด การประกันภัยทรัพย์สิน การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จำนวน จำนวนเงิน จำนวน จำนวนเงิน ผู้เอาประกันภัย เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัย เอาประกันภัย (ราย) (ล้านบาท) (ราย) ล้านบาท) 1. สหรัตนนคร อยุธยา 57 15,828 2 200 2. โรจนะ 241 108,014 4 1,135 3. HI-Tech 73 43,173 8 1,439 4. บางปะอิน 156 90,078 7 1,702 5. แฟคตอรี่แลนด์ 58 505 - - 6. นวนคร ปทุมธานี 235 118,867 6 2,259 7. บางกระดี 106 80,318 3 453 รวม 926 456,783 30 7,188
นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำเข้าท่วมแล้ว 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคม อุตสาหกรรม HI-Tech นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอร์รี่แลนด์ และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ขณะนี้อยู่ ระหว่างการประเมินความเสียหายซึ่งมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงจะทราบได้ภายหลังน้ำลด
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านบาท และจากการ สำรวจข้อมูลการทำประกันภัยทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ปทุมธานี และนนทบุรี พบว่ามีการทำประกันภัยทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยรายย่อย จำนวน 48,087 ราย รวมเงินเอาประกันภัยจำนวน 56,471,559,117 บาท
ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนที่บริษัทประกันภัยได้ดำเนินการทันทีในขณะนี้คือการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าในพื้นที่ประสบอุทกภัยเพื่อ เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยก่อนเกิดความสูญเสียโดยไม่ต้องรอให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้แจ้งเหตุ โดยบริษัทประกันภัยร่วม กับผู้ประกอบการได้เข้าไปเคลื่อนย้ายเครื่องจักรบางส่วนที่สามารถถอดชิ้นส่วนได้ออกไปเก็บในที่ปลอดภัย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วกับ นิคมอุตสาหกรรมนวนครก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำเข้าท่วม รวมถึงกำลังเร่งดำเนินการในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดีที่ยังอยู่ในภาวะ เสี่ยงภัย
นางจันทรา คาดว่า สำนักงาน คปภ.มีนโยบายในการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการประเมินความเสีย หาย เช่น การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประเมินวินาศภัย (Surveyor)เพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เข้ามาเป็นผู้ประเมินความเสียหายได้ทันที มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้บริษัทประกันภัยมีความสะดวกในการประเมินความเสีย หายและทำให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยได้รวดเร็วมากขึ้น