(เพิ่มเติม) กนง.ประเมินอุทกภัยหนักกดศก.ช่วงที่เหลือของปีขยายตัวต่ำกว่าคาดมาก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 2, 2011 11:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ(ธปท.) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือน ต.ค.54 ว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นมีผลรุนแรงและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนหยุดชะงัก ซึ่งจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก แต่การบูรณะซ่อมแซมความเสียหายจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ให้ทยอยกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

แต่แรงกดดันด้านราคายังมีอยู่จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัว แม้ต้นทุนการผลิต เช่น ราคาน้ำมัน ที่ลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการคาดการณ์เงินเฟ้อในประเทศที่เริ่มทรงตัวจะช่วยลดโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งขึ้นในระยะต่อไปได้บ้าง แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในระยะต่อไปจากการใช้จ่ายที่จะเร่งตัวขึ้น ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย

จากข้อมูลเบื้องต้นของไตรมาสที่ 3 ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่เริ่มมีสัญญาณของการแผ่วลงของการส่งออกสอดคล้องกับเศรษฐกิจต่างประเทศที่อ่อนแอลง ในขณะเดียวกัน การค้าในภูมิภาคและอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐบาล จะช่วยจำกัดความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นมีผลรุนแรงและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนหยุดชะงัก ซึ่งจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก แต่การบูรณะซ่อมแซมความเสียหายจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ให้ทยอยกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

แรงกดดันด้านราคายังมีอยู่จากอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัว แม้ต้นทุนการผลิต เช่น ราคาน้ำมัน ที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก และการคาดการณ์เงินเฟ้อในประเทศที่เริ่มทรงตัวจะช่วยลดโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งขึ้นในระยะต่อไปได้บ้าง แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในระยะต่อไปจากการใช้จ่ายที่จะเร่งตัวขึ้น ทั้งจาก ภาครัฐและเอกชน ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะช่วยดูแลแรงกดดันด้านราคาและยังเอื้อต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะที่ปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาและผลกระทบของอุทกภัยต่อภาพรวมของเศรษฐกิจยังไม่ยุติ คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 โดย 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเฝ้าระวังสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ