พาณิชย์เตรียมหารือผู้ส่งออกยานยนต์ กำหนดแนวทางเยียวยา-รักษาตลาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 23, 2011 16:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากปัญหาอุทกภัยสร้าง ความเสียหายต่อทุกภาคส่วนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นฐานการผลิตและประกอบยานยนต์ที่ เป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศได้รับความเสียหายอย่างมาก ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนสำหรับ อุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อส่งออกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตให้ตรงตามเงื่อนไขเขตการค้าเสรี(FTA) ที่กำหนดให้ใช้วัตถุดิบใน ประเทศ(Local Content) อย่างต่ำร้อยละ 40

กรมการค้าต่างประเทศจะจัดประชุมหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ เพื่อรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น กำหนดแนวทางเยียว ยาผู้ประกอบการ และฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้กลุ่มยานยนต์ยังคงสามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ เพื่อรักษาความเป็นฐานการผลิตและรักษาความสามารถในการแข่งขันของไทยไว้

ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ จะได้ติดตามผลสรุปจากการประชุมหารืออย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สำหรับการส่งออกยานยนต์(พิกัดศุลกากร 8703) ของไทย ปัจจุบันได้ใช้สิทธิพิเศษภายใต้เขตการค้าเสรี(FTA) ต่าง ๆ อาทิ อาเซียน และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออก ดังนี้

                                                                          มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
FTA          ปี 2553          ปี 2553          ปี 2554            % 54/53
                            (ม.ค.-ก.ย.)    (ม.ค.-ก.ย.)     (ม.ค.-ก.ย.)

อาเซียน       1,863.34        1,421.27        1,376.44         - 3.15
ออสเตรเลีย    1,071.51          733.55          448.05         - 38.92
รวม          2,934.85        2,154.82        1,824.49         - 15.33

การส่งออกยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่ารวม 1,824.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลด ลงร้อยละ 15.33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดหลักคือกลุ่มอาเซียน โดยส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย(756.19 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ) ฟิลิปปินส์(329.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และมาเลเซีย(275.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) รองลงมาคือ ออสเตรเลีย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ