ผู้ว่าฯ ธปท.แนะแบงก์ไทยเร่งวางกลยุทธ์รองรับแข่งขันภายใต้ AEC

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 7, 2011 13:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง Financial Market Infrastructure: Competitiveness to AEC 2015 ในงานสัมมนาระบบการเงินว่า การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)มีความคืบหน้าต่อเนื่องทั้งการเปิดเสรีการค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีในปี 58 โดยขณะนี้ชาติอาเซียนเตรียมความพร้อมไปมากแล้วทั้งการเพิ่มขีดความสามารถไม่เพียงแต่ภายในประเทศของตนเอง แต่มีกลยุทธแข่งขันในตลาดใหม่ๆ หลายประเทศเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อใช้ประโยชน์ AEC อย่างเต็มที่

สำหรับการเปิดเสรีภาคธนาคารในระดับอาเซียนมีเป้าหมายการรวมตัวของภาคธนาคาร แต่สมาชิกอาเซียนเห็นว่าภาคบริการทางการเงินยังมีความอ่อนไหว และต้องสร้างความพร้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการเพิ่มการแข่งขัน โดยจะต้องดูแลความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเงินควบคู่ไปด้วย หากขาดความสอดคล้องกันก็อาจมีความเสี่ยงเช่นที่เห็นจากประสบการณ์ของการวมกลุ่มเศรษฐกิจหลายแห่ง

ดังนั้น อาเซียนจึงกำหนดให้เปิดเสรีภาคการธนาคารอย่างช้าภายในปี 63 โดยมีเป้าหมายให้มีธนาคารจำนวนหนึ่งที่เรียกว่า Qualified ASEAN Bank(QAB) ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจในทุกประเทศในอาเซียน ซึ่งขณะนี้กำลังหารือถึงการกำหนดมาตรฐานของ QAB และมาตรการกำกับดูแล เพื่อให้ธนาคารที่มีความมั่นคง ตลอดจนสามารถดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินร่วมกันได้ในภาวะที่ QAB ทำธุรกิจข้ามพรมแดน คาดว่าจะเห็นข้อสรุปที่ชัดเจนภายในปี 55 ก่อนทยอยเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอน

"การเปิดเสรีภาคธนาคารถือเป็นประเด็นอ่อนไหว เพราะสมาชิก AEC 10 ประเทศมีระดับการพัฒนาของภาคธนาคารที่แต่งต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาดูความพร้อมและกำหนดเวลาเป้าหมาย...สมมติแบงก์ไทยมี 14 แห่งอาจเข้าเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนหนึ่งที่จะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศสมาชิก แล้วแต่ตกลงกันนว่าจะเข้าไปได้ในช่วงไหน"นายประสาร กล่าว

ขณะที่การเตรียมตัวของภาคธนาคารไทยในการรองรับการเปิดเสรีภาคธนาคาร นอกจากความท้าทายที่เป็นปกติแล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน การแข่งขันในเชิงคุณภาพบริหาร ตลอดจนความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และการบริหารความเสี่ยง และยังต้องเพิ่มมิติของกลยุทธที่ชัดเจนในการแข่งขันภายใต้โจทย์ AEC โดยต้องเร่งสร้างความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับประเทศเพื่อบ้านในอาเซียน ซึ่ง ธปท.พร้อมที่จะมีบทบาทเสริมกลยุทธของภาคธนาคารพาณิชย์เพื่อสเริมต่อให้กลยุทธิภาคธุรกิจที่เป็นลูกค้าของธนาคาร

"แบงก์ไทยเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องคิด เพราะที่ผ่านมาเราอยู่แต่ในประเทศมาก หากเราจะแข่งขันได้ก็ได้ประโยชน์ ถ้าแข่งขันไม่ได้ก็เสียประโยชน์ ตอนนี้ให้เวลาเตรียมตัว หากไม่เตรียมก็ต้องรับผลที่เกิดขึ้น...มีแบงก์ไทยไปต่างประเทศน้อย แต่แบงก์ต่างประเทศเข้ามาในไทยมาก เรื่องความพร้อมเป็นเรื่องของกลไกตลาด"นายประสาร กล่าว

ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวอีกว่า การรวมตัวเป็น AEC ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจของทุกประเทศในอาเซียนในการขยายตลาดสินค้าและบริหาร ทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวกันซึ่งมีประชากรเกือบ 600 ล้านบาทเป็นการขยายฐานการผลิต และการเป็นตลาดเดียวของอาเซียจะสมบูรณ์เมื่อมีการเปิดเสรีด้านอื่นๆพร้อมกัน ทั้งการค้า บริหาร รวมถึงภาคการเงิน การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานฝีมือ ควบคู่ไปกับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เช่นะรบบชำระเงิน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการรวมตัวเป็น AEC

ทั้งนี้ ภาคการเงินมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงในการขยายตลาดและฐานการผลิต เพื่อให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถการแข่งขันและชาชนในภูมิภาคมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือด้านการเงินของอาเซียน ประกอบด้วย

1. ความร่วมมือในระบบการชำระเงิน ซึ่ง ธปท.ร่วมมือกับ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย เป็นประธานร่วมของคณะทำงานด้านระบบชำระเงิน มีกลุยทธในการพัฒนาระบบการชำระเงินของอาเซียน ให้สะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ รองรับธุรกิจการเงิระหว่างประเทศ

2. การเปิดแสรีด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพื่อลดอุปสรรคจากกฎระเบียบและขั้นตอนการอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนรองรับการลงทุนจัดตั้งธุรกิจ และการลงทุนทางการเงินข้ามพรมแดน โดยอาเซียนให้ความสำคัญต่อการดูแลเสถียภาพการเงิน หากเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน จึงต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการอำนวยความสะดวกของการเคลื่อนย้ายเงินทุนและความจำเป็นของการรักษาเสถียภาพของระบบการเงิน ควบคู่กับการมีระบบบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี การเปิดเสรีภาคการธนาคาร และการพัฒนาตลาดทุน

3. การเปิดเสรีภาคธนาคาร ช่วยให้มีผู้บริการที่แข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินตอบโจทย์ธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจข้ามพรมแดน สนับสนุนภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ด้วยการแข่งขันให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย ไม่มีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายเงินทุน เป็นการขยายโอกาสของสสถาบันการเงินไทยในการให้บริการแก่ธุรกิจและแรงงานไทยในอาเซียน ทั้งนี้ภาคธนาคารจะเป็นแกนหลักของระบบการเงินในภูมิภาค ทั้งเป็นผู้ให้บริการในระบบการชำระเงิน เป็นตัวกลางระดมเงินออมและจัดสรรเงินลงทุนของระบบเศรษฐกิจและเป็นผู้ขายบริการด้านบริหารความเสี่ยง

4.การพัฒนาตลาดทุน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวมทำให้ระบบการเงินของอาเซียนมีความสมดุลและลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตทางการเงิน เป็นการเพิ่มแหล่งระดมทุนของภาคธุรกิจและเป็นทางเลือกใหม่ในการออมและการลงทุนในตลาดทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน นอกเหนือจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ตลาดทุนของแต่ละประเทศมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงสนับสนุนให้เชื่อมโยงตลาดทุนเพื่อยกระดับของตลาดหลักทรัพย์ ให้นักลงทุนสามารถลงทุนหรือระดมทุนได้สะดวกรวดเร็วจากการมีมาตรฐานและกฎระเบียบที่สอดคล้องกัน มีการพัฒนา ASEAN products ที่มีความลึกและหลากหลาย มีการรวมกลุ่มหลักทรัพย์ bluechip ของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนที่เรียกว่า ASEAN Stars ให้เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วโลก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ