ในขณะที่นายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลี กำลังเริ่มเข้าสู่ระยใหม่ของการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจนั้น ตลาดโลกทั่วโลกมองว่าอิตาลี ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของยูโรโซน กำลังเผชิญกับความท้าทายในการฝ่าฟันวิกฤติ ด้วยการฟื้นฟูการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ
คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลของนายมอนติ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาณในสาขาต่างๆ เพึ่งจะเริ่มแผนรัดเข็มในระยะที่นายมอนติเรียกว่า "ระยะของการขยายตัว" หลังจากที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาในเรื่องงบประมาณงวดแรก วงเงิน 3 หมื่นลานยูโร (3.8 หมื่นล้านดอลลาร์)
ระยะใหม่ของแผนรัดเข็มขัดนี้จะมุ่งไปที่ มาตรการที่มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการขยายตัวและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน ซึ่งได้รวมแผนการปฏิรูปตลาดแรงงานไว้ในแผนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูง
เมื่อวานนี้ รัฐบาลอิตาลีสามารถประมูลขายพันธบัตรอาย 10 ปี, 3 ปี และ 7 ปี ได้ 7 พันล้านยูโร (9 พันล้านดอลลาร์) ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าการประมูลในครั้งก่อน แต่นายฟรานเซสโก เพรวิเทอรา หัวหน้านักวิจัยของบริษัทบองคา อาโครส์ อีเอสเอ็นในเมืองมิลาน กล่าวว่า ความต้องการพันธบัตรอิตาลีน้อยกว่าการคาดการณ์ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนยังอยู่ในระดับสูง
"ความวิตกกังวลในตลาดโลกส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากเงินกองทุนส่วนใหญ่ที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปล่อยกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้" เขากล่าว
ทั้งนี้ นายมอนติได้เปิดเผยมุมมองในช่วงสิ้นปีของเขาว่า ความผันผวนในตลาดเกิดจากภาวะไร้เสถียรภาพของยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะตึงตัวด้านการเงินของอิตาลี แต่ถึงกระนั้นเขาก็เชื่อว่า มาตรการรัดเข็มขัดจะช่วยไม่ให้อิตาลีต้องล้มละลาย
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หากรัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการดังกล่าวในขั้นต้น ก็จะช่วยให้อิตาลีสามารถทำงบประมาณสมดุลได้ในปี 2557 แต่สิ่งที่สำคัญคืออิตาลีจะต้องผลักดันเศรษฐกิจให้มีการขยายตัว
สมาคมธนาคารอิตาลี คาดว่า เศรษฐกิจอิตาลีอาจหดตัว 0.7% ในปี 2555
อย่างไรก็ตาม นายมาร์โค โอนาโด ศาสตราจารย์ประจำวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย มิลาน บอคโคนี ยูนิเวอร์ซิตี้ กล่าวว่า "มุมมองต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกเมื่อเปียบเทียบกับการคาดการณ์ของ Confindustria ซึ่งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมชั้นนำของอิตาลี ที่ระบุว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะหดตัวลง 1.6%"
"สถานการณ์ของอิตาลียังคงน่าเป็นห่วง และการเยียวยาอย่างมีประสิมธิภาพมีทางเดียวคือผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัว" นายโอนาโดกล่าว พร้อมกับแสดงความคาดหวังว่ารัฐบาลของนายมอนติจะสามารถเอาชนะกลุ่มผลประโยชน์ที่ออกมาต่อต้านการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในช่วงที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหัวรายงาน