พณ.เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคมี.ค.ลดทุกรายการ ห่วงค่าครองชีพ-น้ำมันแพง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 5, 2012 10:52 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2555 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมอยู่ที่ 23.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก.พ.ซึ่งอยู่ที่ 25.8 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ที่ 14.4 ปรับตัวลดลงจาก 15.7 ในเดือนก.พ. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต(3 เดือน) อยู่ที่ 28.8 ปรับตัวลดลงจาก 32.6 ในเดือนก.พ.

ทั้งนี้ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทาให้ค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตภาคการเกษตร

ส่วนค่าดัชนีในด้านต่างๆ พบว่าผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อรายได้ในอนาคตลดลง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรบางชนิดปรับตัวลดลง ประกอบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระหว่างการปรับตัวจากนโยบายค่าแรงขั้นต่าที่เริ่มใช้ในวันที่ 1 เม.ย. โดยประชาชนยังมีความกังวลและไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจากข่าวความไม่แน่นอนในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จาเป็นในปัจจุบันและอนาคต ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจาวันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นและยังรู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากสถานการณ์น้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ เช่น ดูแลราคาน้ามันและพลังงาน เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค, แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการปรับลดหรือตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้ประชาชนอยู่ได้ เพราะในปัจจุบันประชาชนมีหนี้เพิ่มมากขึ้นในหลายครัวเรือน

ด้านสังคม โดยขอให้ปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่นอย่างจริงจัง แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, สร้างความเชื่อมั่นในรัฐบาลและเร่งสร้างความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ เนื่องจากส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ

ด้านอุทกภัย ให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ เร่งพัฒนาคลองชลประทานเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รวมทั้งเร่งวางแผนการขุดคลองเชื่อมเพื่อให้น้ำไหลลงทะเล รวมทั้งเร่งวางแผนระยะยาวเพื่อป้องกันน้าท่วมและภัยแล้ง

ด้านเกษตร ให้เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยการบริหารจัดการน้าอย่างมีประสิทธิภาพ, ดูแลราคาสินค้าการเกษตร แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลังเพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าปุ๋ยและค่าน้ำมันที่แพงขึ้นมาก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ