นายเออร์เฮน ลัคมาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของอินโดนีเซียคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียมีแนวโน้มลดลงสู่ระดับ 3-4% เทียบกับเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ที่ 4.5-5.5% ในปี 55-56 ซึ่งเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายควรเร่งแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุปทานสินค้าทั่วประเทศ
“ในระยะยาว เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ 3-4% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราของประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย " เจ้าหน้าที่ระดับสูงกล่าว
นายดีฟี เอ โจฮันยาห์ โฆษกธนาคารกลางอินโดนีเซียระบุว่า ยอดอุปสงค์ซึ่งเชื่อมโยงกับยอดอุปทานสินค้าถือเป็นปัจจัยหลักของอัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียมานานแล้ว
ขั้นตอนที่สำคัญ คือ การลดช่องว่างของราคาสินค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้ค้าในจังหวัดต่างๆ กลุ่มผู้อำนวยการของฝ่ายนโยบายการเงินแห่งธนาคารกลางชี้
ผู้กำหนดนโยบายในระดับจังหวัดระหว่างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันจัดการกับอุปสรรคที่ทำให้อุปทานสินค้าในจังหวัดต่างๆหยุดชะงักลง
ราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลกถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในอินโดนีเซีย