นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึง กรณีค่าไฟฟ้าที่มีการปรับราคาขึ้นนั้นว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เลื่อนปรับขึ้นในเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมนั้น ทางรัฐบาลไม่มีส่วนในการกำหนดเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้า เนื่องจาก กฟผ. เป็นองค์กรระดับภาคประชาชน ซึ่งรัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปดูแลตรงนั้น แต่ขอย้ำว่า กฟผ.ทำงานด้วยความโปร่งใสที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ส่วนเรื่องต้นทุนพลังงานที่มีหลายฝ่ายมองว่ามีราคาปรับตัวสูงขึ้นนั้น ขอยืนยันว่า ต้นทุนการผลิต 70 % ที่ใช้แก๊ส ณ วันนี้ เรื่องถ่านหินมีการพัฒนาไปมาก และใช้ทดแทนและทำให้ค่าไฟถูกลง โดยที่จะทำให้ค่าไฟถูกลงนั้นได้นั้น ต้องพัฒนา 2 ด้าน คือ 1.ถ่านหิน 2.พลังงานนิวเคลียร์ ทางกระทรวงพลังงานเริ้มสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชนเห็นว่า ถ่านหิน ไม่เป็นอันตราย และมีจำนวนมาก สามารถนำมาใช้เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานได้ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้แก๊สเพิ่มมากขึ้นภายในประเทศ และรัฐบาลได้นำเข้าแก๊สจากประเทศพม่าอีก 25 % และนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งวิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงาน คือ ประเทศต้องมีพลังงานที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับประชาชน
ส่วนราคาน้ำมันที่หลายฝ่ายมองว่ามีอัตราสูงนั้น นายอารักษ์ กล่าวว่า หากเข้าไปดูจากฐานตัวเลขจะเห็นว่าไม่ได้แพงกว่าปีที่แล้ว แต่กลับถูกกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำ หากถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมในการวางระบบโครงสร้างพลังงาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งหากชดเชยมากเกินไป อีก 3 ปีอาจเดือดร้อน
"คนไทยใช้น้ำมันถูกบ้างแพงบ้าง ก็ต้องดูตามปัจจัยต่าง ๆ ส่วนเรื่องกองทุนน้ำมันที่ติดลบนั้น จุดประสงค์หลักของกระทรวง เพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน ตอนติดลบ 20,000 ล้านบาท เราก็เอากองทุนเบนซินไปชดเชย LPG, NGV ที่ใช้อยู่ ณ วันนี้หากเปรียบเทียบรายวันเป็นบวกไม่ติดลบ ซึ่งรายวันเป็นบวกถึง 32,000 ล้านบาท ตรงนี้มาจากคนใช้เบนซินจำนวนมากจึงนำมาชดเชยได้ ทั้งนี้ กระทรวงเดินหน้าส่งเสริมประชาชนใช้พลังงานทดแทน และดูแลราคาแก๊สหุงต้ม ไม่ให้กระทบต้นทุนราคาอาหารปรุงสำเร็จ ยืนยันการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในอีก 2-3 เดือน จะไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แต่เป็นการใช้ราคาพลังงานอย่างเหมาะสม เป็นธรรม" นายอารักษ์ กล่าว