สำนักข่าว ISNA ซึ่งเป็นสำนักข่าวกึ่งทางการของอิหร่านรายงานว่า รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันอิหร่านออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า สาธารณรัฐอิสลามได้ระงับการส่งออกปิโตรเคมีไปยังสหภาพยุโรป (อียู)
สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างข่าวจาก ISNA ว่า นายอับดุลฮอสเซิน บายัท ปฏิเสธข่าวที่ออกมาว่าอิหร่านได้ระงับการส่งออกปิโตรเคมีไปยังอียู โดยกล่าวว่า การส่งออกปิโตรเคมีของอิหร่านไม่ประสบปัญหาใดๆแม้จะมีการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตก
นายบายัทเผยว่า อุปสงค์ผลผลิตปิโตรเคมีของอิหร่านเพิ่มความสามารถในการส่งออกของประเทศขึ้นเป็นสองเท่า และสาธารณรัฐอิสลามวางแผนจะผลิตให้ได้เท่ากับอุปสงค์ของลูกค้าโดยใช้ความซับซ้อนทางปิโตรเคมีจำนวนหนึ่งในอนาคต
ทั้งนี้ นายบายัทยังกล่าวด้วยว่า หลายๆประเทศเช่น อัฟกานิสถานและปากีสถานต่างก็พร้อมที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของอิหร่าน และอิหร่านก็กำลังต่อร้องข้อเรียกร้องเหล่านั้นอยู่
หลายปีที่ผ่านมา อิหร่านไม่เพียงแต่ขยายคุณภาพและปริมาณของผลผลิตของประเทศตนเท่านั้น แต่ยังใช้กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นด้วย
แม้สาธารณรัฐอิสลามจะมีแรงกดดันเนื่องจากโครงการนิวเคลียร์ ในปี 2553 และ 2554 อิหร่านยังคงส่งออกผลผลิตปิโตรเคมีหลากหลายชนิดกว่า 16.2 ล้านตันไปยัง 60 ประเทศและทุกภูมิภาคทั่วโลก มีรายได้จากการส่งออกนี้แตะ 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ISNA รายงานว่า ยุโรปตะวันตก และจีนเป็นปลายทางหลักๆของการส่งออกปิโตรเคมีของอิหร่าน ตามมาด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง อินเดีย อัฟรอกา และละตินอเมริกา