(เพิ่มเติม1) พาณิชย์ เผยเดือน ส.ค. CPI เพิ่มขึ้น 2.69% Core CPI เพิ่มขึ้น 1.76%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 3, 2012 15:52 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) เดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 116.28 เพิ่มขึ้น 2.69% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.60% และเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.55 เพิ่มขึ้น 0.40% ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ส.ค.55) เพิ่มขึ้น 2.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ(Core CPI) เดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 108.52 เพิ่มขึ้น 1.76% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.55 ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 8 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้น 2.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเดือน ส.ค.55 อยู่ที่ 140.50 เพิ่มขึ้น 4.02% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.31% จากเดือน ก.ค.55 เป็นการสูงขึ้นที่ชะลอตัวลงตามการลดลงของราคาสินค้าสาคัญ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด เป็นต้น สาหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น เช่น ปลาและสัตว์น้า ไข่ นมและผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้เครื่องประกอบอาหารและอาหารสำเร็จรูป

ส่วนดัชนีราคาสินค้าที่ไม่ใช่หมวดอาหารและเครื่องดื่มเดือน ก.ค.55 อยู่ที่ 102.41 เพิ่มขึ้น 1.84% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.44% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.55 เป็นการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ามันเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ รวมทั้งถึงสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าน้าประปา ค่าของใช้ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และผลิตภัณฑ์สุรา เป็นต้น

สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.ปรับตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงตามการอ่อนตัวลงของราคาสินค้าประเภทอาหารสดเป็นสาคัญ แสดงถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ตามการบริหารจัดการนโยบายของภาครัฐบาล รวมถึงการกำกับดูแลราคาสินค้าและโครงสร้างราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และคาดว่าแนวโน้มในช่วงไตรมาส 3/55 จะลดลง

"แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงหลังจากนี้ไปจะเริ่มทรงตัวในระดับต่ำ เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนอาหารสำเร็จรูป และวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารมีราคาอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสถานการณ์เงินเฟ้อที่เริ่มปรับลดลงดังกล่าวถือว่าตรงกันข้ามกับความวิตกกังวลจากหลายฝ่ายก่อนหน้านี้ที่เกรงว่าราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงและส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อให้อยูในระดับที่สูงตาม" นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทวงพาณิชย์ กล่าว ทั้งนี้ พบว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP) ถือว่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศที่อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพดี 3 อันดับแรกในเอเชียคือ มาเลเซีย, ไทย และฟิลิปปินส์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า หลังจากนี้ไปรัฐบาลจะต้องกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกแผ่วลง ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจจากหลายสำนักประเมินว่าสถานการณ์เ ศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะแย่กว่าปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

"กระทรวงพาณิชย์ และรัฐบาลจะต้องกระต้นการบริโภคของประชาชนให้มากขึ้นต่อเนื่องจากมาตรการในปัจจุบันที่ได้ดำเนินการอยู่ ทั้งรถคันแรก และบ้านหลังแรก" ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุ

พร้อมคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3/55 นี้จะอยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งถือว่าชะลอตัวลงจากจากเงินเฟ้อไตรมาส 2/55 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.51% ขณะที่ทั้งปีนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 3.3-3.4% เป็นไปตามกรอบที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 3.3-3.8% โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ภัยธรรมชาติ ราคาน้ามันในตลาดโลก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพของประชาชน

และเมื่อเทียบกับเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ 0.5-3.0% ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือน ส.ค.55 ยังอยู่ในช่วงเป้าหมายของ ธปท.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ