คลังเล็งออก package กระตุ้นลงทุนต่างประเทศช่วยให้เงินบาทอ่อนค่า 0.60 บ.

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 13, 2012 12:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาการออกชุดมาตรการ(package)ส่งเสริมภาคเอกชนไทยไปลงทุนต่างประเทศ ทั้งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการสนับสนุนด้านเงินทุน โดยเชื่อว่าหากมีการนำ package มาใช้จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นถึง 30% หรือคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ/ปี ซึ่งจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง 2.4% หรือ 0.60 บาท/เหรียญสหรัฐ

"ในแพ็คเกจดังกล่าวยังมีผลพลอยได้อีกอย่างที่ต่างชาติจะใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนต่างประเทศเช่นกัน และเรายังได้ภาษีทางอ้อม เช่น ภาษี VAT คิดเป็นรายได้ภาษีปีละกว่า 10,000 ล้านบาท"นายสมชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนไทยที่เข้าใช้ package จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในระดับที่เหมาะสม เพื่อนำเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อนำไปเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนต่อเงินบาทมากขึ้น ดังนั้นควรที่จะมีการนำเงินสำรองระหว่างประเทศให้เอกชนนำไปลงทุน แต่เนื่องจากยังมีอุปสรรคของภาคเอกชนทั้งมาตรการภาษี การสนับสนุนด้านอื่นๆ อยู่

ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า กรมสรรพากรอยู่ระหว่างการศึกษาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับภาคเอกชนที่ไปลงทุนต่างประเทศและนำราย(ซอฟท์โลน)ในการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการไปลงทุนต่างประเทศ

นายสมชัย กล่าวว่า ปัจจุบันเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยสูงถึง 1.79 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกว่า 64% ของเงินสำรองฯ หรือราว 6.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลือ 36% หรือราว 4.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ มาจากการเกินดุลบัญชีเงินทุน ซึ่งการมีเงินสำรองฯ จำนวนมากทำให้ไม่มีความสมดุล และสร้างแรงกดดันได้ส่งกลับประเทศ แต่อาจจะส่งเสริมเฉพาะธุรกิจในลักษณะ out-out คือมีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศโดยไม่มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องในไทย เช่น การลงทุนธุรกิจโรงแรมในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เนื่องจากการออกเป็นกฎหมายใดๆ จะต้องไม่มีช่องโหว่ให้ถูกตำหนิได้

"ไม่สามารถบอกได้ว่าจะออกมาเมื่อไร แต่รัฐบาลพร้อมส่งเสริมการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และให้แข่งขันได้" นายกิตติรัตน์ กล่าว

สศค.ได้มีข้อเสนอมาตรการการเงินการคลังเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากยังพบอุปสรรคของการลงทุนในต่างประเทศทั้งระบบภาษีของไทยที่ทำให้เสียเปรียบการแข่งขัน package สนับสนุนมีปัญหาในทางปฎิบัติ เช่น สิทธิพิเศษไม่จูงใจ มีการยกเลิกสิทธิประโยชน์ย้อนหลัง และต้องเสียค่าปรับหากไม่สามารถปฎิบัติได้ตามเงื่อนไข การมีปัญหาด้านแหล่งเงินทุนและการประกันความเสี่ยงในระยะยาว Initial Cost สูง รวมทั้งขาดความรู้ ค่าจ้างที่ปรึกษาแพง การอำนวยความสะดวก และการให้ข้อมูลไม่เพียงพอ

จากปัญหาต่างๆ ทำให้แนวโน้มไทยเสียเปรียบการแข่งขัน ทำให้บริษัทใหญ่มีการวางแผนภาษี ใช้สิงคโปร์ เกาะเคย์แมน ฮ่องกง มอริเชียส และบริติชเวอร์จิน เป็นฐานในการจดทะเบียนตั้งบริษัท และมีแนวโน้มที่บริษัทไทยย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศจะย้าย Headquarter ไปรับรู้รายได้ในต่างประเทศด้วยเช่นกัน และทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเสียเปรียบบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทต่างชาติ ขณะที่ต่างชาติมีแนวโน้มไม่ใช้ไทยเป็นฐานการค้า การลงทุน รวมถึงเป็น Headquarter เท่าที่ควร ส่วนผู้บริหารและบริษัทต่างชาติในไทยก็ไม่ใช้ไทยเป็นฐานการบริหารพอร์ตการลงทุน

ทั้งนี้ พบว่าในปี 54 บริษัทไทยลงทุน 1 แสนล้านบาทในสิงคโปร์ เคย์เมน ฮ่องกง มอริเชียส และบริติชเวอร์จิน ขณะที่ในไทยแทบไม่มีธุรกิจ private fund และ individual account ลงทุนต่างประเทศ และปัจจุบันระบบภาษีของไทย worldwide income นำรายได้รวมยื่นในไทย คนไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงบริษัทไทยเสียเปรียบผู้ใช้ฐานลงทุนในต่างประเทศ

ดังนั้น มาตรการการเงินการคลังที่จะส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ จะมีทั้งมาตรการส่งเสริมกองทุนส่วนบุคคลและบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ package มาตรการริเริ่มบริษัทเพื่อการลงทุนต่างประเทศ package มาตรการศูนย์ปฎิบัติการระหว่างประเทศ มาตรการสินเชื่อและประกันความเสี่ยงเพื่อการขยายกิจการต่างประเทศ (ไม่ใช้งบประมาณ) มาตรการสนับสนุนบริษัทเพื่อการลงทุนต่างประเทศสำหรับ SMEs มาตรการอำนวยความสะดวกจัดตั้งสำนักบริการภาษีระหว่างประเทศ และมาตรการส่งเสริม USD funding

มาตรการชุดดังกล่าวจะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพิ่ม ใช้จ่ายในไทย เสียค่าธรรมเนียมและภาษีในไทย มีบริษัทย้านฐานการผลิต ใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง trading และ Headquarter ส่วนธุรกิจเอสเอ็มจะเสียเปรียบน้อยลง ลงทุนเพิ่มขึ้น ส่วนบริษัทต่างชาติใช้ไทยเป็นฐานการค้าการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น มีแรงจูงใจใช้ไทยเป็น Headquarter และขยายกิจการอื่น ส่วนผู้บริหารต่างชาติใช้ไทยเป็นฐานบริหารเงิน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ