"เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.เดินอากาศยาน พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นการแก้ไขให้เกิดความคล่องตัวในการอนุญาตให้ต่างประเทศถือหุ้นในกิจการที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ" รมว.คมนาคมกล่าว
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ 1.กำหนดให้ในกรณีที่การผลิตอากาศยานมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ หรือมีเหตุอันควรในการส่งเสริมการประกอบกิจการดังกล่าว หรือเพื่อปฎิบัติตามพันธรกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ อาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง (2) และ (4) โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และระยะเวลาของการยกเว้นไว้ด้วยก็ได้
2. กำหนดให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 41/25 แห่ง พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551
3. กำหนดให้ในกรณีที่การผลิตส่วนประกอบสำคัญของอากาศยานกรณีใดมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ หรือมีเหตุอันสมควรในการส่งเสริมการประกอบกิจการดังกล่าว หรือเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ อาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 41/23 วรรคหนึ่ง (2) และ (4) โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และระยะเวลาของการยกเว้นไว้ด้วยก็ได้
4. กำหนดให้ในกรณีที่การประกอบกิจการหน่วยซ่อมประเภทที่หนึ่งกรณีใดมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ หรือมีเหตุอันสมควรในการส่งเสริมการประกอบกิจการดังกล่าว หรือเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศ อาจตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 41/23 วรรคหนึ่ง (2) และ (4) โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และระยะเวลาของการยกเว้นไว้ด้วยก็ได้
"พ.ร.บ.เดิม ต่างชาติลงทุนได้ในสัดส่วนไม่เกิน 49% ซึ่งทำให้ต่างชาติไม่ค่อยสนใจ ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงขอยกร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้ผ่านกฤษฎีกาแล้ว โดยอาจจะมีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติให้มากกว่า 49% ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาทำการตั้งศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยานในประเทศมากขึ้น" รองโฆษกฯ กล่าว