การใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนขยายตัวในเกณฑ์ดี ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 ใกล้เคียงกับแนวโน้มการเติบโตในช่วงปกติ ตามการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ที่เร่งขึ้นเป็นสำคัญ
ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 0.9 จากการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนความเสียหายจากอุทกภัยที่ยังเหลืออยูบางส่วนและเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ การลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวจากการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมเป็นสำคัญ
การใช้จ่ายภาคเอกชนที่อยู่ในเกณฑ์ดีสนับสนุนให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยหากเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 5.4ตามการผลิตของอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศโดยเฉพาะหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามการผลิตเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังคงหดตัวจากความต้องการจากต่างประเทศที่อยูในระดับตํ่
สำหรับภาคเกษตร รายได้เกษตรกรทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนจากราคาที่ปรับดีขึ้นชดเชยผลผลิตที่ลดลง
ในเดือนตุลาคม 255 การส่งออกสินค้ายังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนนี้มีจำนวน 19,128 ล้านดอลลาร์สรอ. หดตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 3.5 แต่หากไม่รวมการส่งออกทองคำ การส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.4 ตามการส่งออกสินค้าเกษตรโดยเฉพาะขวที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ที่ปรับดีขึ้น
ส่วนการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 19,274 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยการนำเข้าที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 8.5 จากเดือนก่อน ตามการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค
ด้านดุลการชำระเงินขาดดุลตามการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและการไหลออกสุทธิของเงินทุนเคลื่อนย้ายจากการออกไปลงทุนโดยตรงและลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย รวมถึงการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นที่ครบกำหนดของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.32 ตามราคาอาหารสด โดยเฉพาะราคาผักผลไม้ที่ชะลอลงจากปีก่อนที่อยู่ในระดับสูงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.83 ตามราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ส่วนภาครัฐรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายที่อุดหนุนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามโครงการจำนำสินค้าเกษตรและรายจ่ายเงินโอนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นสำคัญ สำหรับรายได้นำส่งอยู่ในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิตจากยอดขายยานยนต์เป็นสำคัญ โดยรายจ่ายที่สูงกว่ารายได้ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 162 พันล้านบาท
นายเมธี กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังสามารถรองรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้ โดยผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกผลิตที่เกี่ยวกับยังจำกัดอยู่เฉพาะการส่งออก
ทั้งนี้ เชื่อว่าการส่งออกของไทยจะไม่ทรุดตัวลงไปกว่านี้ แต่จะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกระยะ โดยสาเหตุที่ทำให้เชื่อว่าการส่งออกของไทยจะทรงตัวมาจาก 2 ปัจจัย 1.จากดัชนีชี้นำการส่งออกในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และ จีน ที่ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจ ซึ่งให้ความเห็นว่าการส่งออกน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
2.การส่งออกของไทยมีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามการส่งออกของหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ซึ่งการส่งออกของประเทศในเอเชียเหล่านี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งไทยก็น่าจะเดินตามในทิศทางเดียวกันกับประเทศเหล่านี้
พร้อมกันนี้ ยังมองว่าเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ดีในขณะนี้มาจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศเป็นหลัก โดยคาดว่าโมเมนตั้มที่จะกระตุ้นการบริโภคในปีหน้ามาจากมาตรการภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งคาดว่าโมเมนตั้มนี้จะมีแรงส่งไปจนถึงกลางปี 56 ประกอบกับภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย สินเชื่อยังสามารถขยายตัวได้ดี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยสนับสนุนการบริโภคให้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า
"ภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคมยังขยายตัวได้ดี โดยมาจากการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ส่วนการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกแต่เชื่อว่าจะไม่ทรุดตัวไปกว่านี้ และจะทรงตัวในระดับนี้ไปอีกระยะ"นายเมธี กล่าว