ส่วนการขอผ่อนผันการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า, ลาว, กัมพูชา เพิ่มเติมอีก 6 เดือนนั้น ส.อ.ท.ได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอผ่อนผันไปแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติขยายเวลาเพิ่มเติม
ทั้งนี้ นายพยุงศักดิ์ มองว่า หากภาครัฐไม่ขยายเวลาในการพิสูจน์สัญชาติดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตจนอาจทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลงและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ ซึ่งท้ายสุดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการแรงงานต่างด้าวอยู่มาก
ส่วนปัญหาความขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.นั้น นายพยุงศักดิ์ ยืนยันว่าสมาชิกใน ส.อ.ท.ยังสามารถร่วมกันทำงานได้กับทุกคน โดยไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ตลอดจนสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ดี วันที่ 24 ธ.ค.55 ส.อ.ท.ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ในเวลา 15.00 น.วาระสำคัญจะเป็นการพิจารณามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อให้มีทางออกที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนการขอผ่อนผันการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีก 6 เดือน พร้อมทั้งเร่งหาทางออกยุติความขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.เพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทำให้การดำเนินงานต่างๆ สามารถเดินหน้าต่อไปได้