"เร็วๆ นี้จะลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงด้วยตัวเอง จะลงพื้นที่เป็นเวลาพอสมควร 6 ชั่วโมงหรือนอนค้างคืน เพื่อให้รับทราบปัญหาอย่างแท้จริง โดยการจ่ายเงินชดเชยครั้งนี้จะถือเป็นมาตรฐานของการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลในอนาคต เพราะหากจ่ายเงินชดเชยในอัตราสูงก็จะเป็นต้นทุนของโครงการ แต่หากไม่ช่วยเหลือและชดเชยเงินให้กับผู้ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็จะถูกคัดค้านจากประชาชน ส่งผลให้โครงการขนาดใหญ่ไม่เกิด" นายชัชชาติ กล่าว
ด้านนายสมชัย สวัสดีผล รักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย(AOT) หรือ ทอท. กล่าวว่า ปัจจุบัน ทอท.ได้จ่ายเงินชดเชยให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้านเสียงแล้วทั้งสิ้น 3,893 ล้านบาท ถือว่าคืบหน้าไปกว่า 80% โดยมีอาคารที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับชดเชยตามมติครม.วันที่ 29 พ.ค.50 และวันที่ 31 ส.ค.53 รวมทั้งสิ้น 16,317 อาคาร แบ่งเป็น อาคารที่อยู่ในแนวเส้นเสียงNEF มากกว่า 40 จำนวน 641 อาคาร ชดเชยแล้วเป็นเงิน 754 ล้านบาท และอาคารที่อยู่ในแนวเส้นเสียง NEF 30-40จำนวน 15,676 อาคาร ชดเชยแล้วเป็นเงิน 2,632 ล้านบาท และพื้นที่อ่อนไหว 22 แห่ง วงเงิน 506 ล้านบาท โดยครม.อนุมัติกรอบวงเงินชดเชยไว้ที่ 11,233 ล้านบาท
ทั้งนี้ พบว่ามีชาวบ้านบางส่วนต้องการให้ ทอท.ดำเนินการตามมติครม.ปี 49 ซึ่งแตกต่างจากมติครม.ปี 50 ซึ่งทอท.ถือปฏิบัติอยู่ โดยแตกต่างกันกรณีรับซื้ออาคารที่อยู่ในแนวเส้นเสียง NEF 30-40 ซึ่งมติครม.ปี 50 ให้เพียงปรับปรุงเท่านั้น สาเหตุที่ ทอท.ดำเนินการตามมติครม.ปี 50 เพราะได้รับการยืนยันว่าเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นมติเดียวกับมติผู้ถือหุ้น