แผนแม่บทการบูรณาการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย พิเศษ ครั้งนี้ เป็นการประชุมเต็มคณะในโอกาสครบรอบ 20 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย โดยมีหัวข้อการประชุม คือ“ASEAN-India Partnership for Peace and Shared Prosperity การของอินเดียเพื่อการพัฒนาภูมิภาคเชนไน-บังกะลอว์ และภารกิจทางทะเลปี 2010 — 2020 จะช่วยต่อยอดแผนแม่บทของประชาคมอาเซียน ทางบก เส้นทางไทย เมียนมาร์ อินเดีย จะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว รวมทั้งการขยายต่อไปยังประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ที่เชื่อมเอเชียใต้และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ทางทะเล ไทยสนใจการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแม่โขง- อินเดีย ผ่านการเชื่อมโยงทางทะเล เชนไน — ทวาย — แหลมฉบัง ซึ่งระเบียงเศรษฐกิจนี้ จะอำนวยความสะดวกการขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา และวัตถุดิบอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมในอินเดียและประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ การเชื่อมโยงไม่เพียงเฉพาะการเชื่อมต่อทางสาธารณูปโภคเท่านั้น แต่รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนและการเชื่อมโยงทางความคิดด้วย
"ด้วยนโยบาย Look East ของอินเดีย และนโยบาย Look West ของอาเซียน จะนำมาซึ่งเชื่อมต่อทางความคิด และผลประโยชน์ร่วมกัน และจะต้องร่วมกันต่อสู้กับการก่อการร้าย การส่งเสริมความปลอดภัยทางทะเล การจัดการภัยภิบัติ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยังยืน รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างประชาชนด้วย"น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
ด้วยการเชื่อมโยงนี้ อาเซียนและอินเดียสามารถสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านที่นำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาใช้ประโยชน์ส่งเสริมกัน และความเป็นหุ้นส่วนนี้ จะช่วยให้อินเดียและอาเซียนมุ่งเน้นการเติบโตของภูมิภาค โดยเฉพาะในช่วงภาวะผันผวนของประเทศพัฒนาแล้ว
ดังนั้น ข้อตกลงการจัดทำเขตการค้าเสรี FTA อาเซียน—อินเดีย จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน และเป็นที่น่ายินดีต่อการบรรลุผลการเจรจาความตกลงด้านการค้า อาเซียน—อินเดีย ในสาขาบริการและการลงทุน ซึ่งประโยชน์จากความตกลงนี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายการค้าจำนวน 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2015 ได้ อีกทั้ง ข้อสรุป FTA อาเซียน — อินเดียะเป็นเสาหลักสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในระดับภูมิภาค หรือ RCEP
ทั้งนี้ ไทยหวังว่าจะร่วมกับอินเดียไม่เพียงเฉพาะในบริบทของความสัมพันธ์อาเซียน —อินเดีย แต่จะครอบคลุมไปถึง กรอบการดำเนินการระดับอนุภูมิภาค เช่น BIMSTEC และความร่วมมือ Mekong- Ganga ด้วย ทั้งนี้ กรอบการดำเนินการและความร่วมมือที่เชื่อมต่อกันจะช่วยสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งต่อความสัมพันธ์อาเซียน — อินเดีย และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีพลวัตรยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า ความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ อาเซียน — อินเดีย จะเป็นเสาหลักสำคัญต่อความเจริญเติบโตของเอเชีย และเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพของเอเชียที่เป็นกลไกสำคัญของการเติบโตของโลก และเป็นพลังเพื่อความมั่นคงและการพัฒนา