สศค.เผย ศก.ไทยใน พ.ย.55 การบริโภค-ลงทุนขยายตัวดีขณะส่งออก-ผลิตเร่งตัว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 26, 2012 17:53 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เผยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย.55 การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ 29.7% เมื่อเทียบกับ พ.ย.54 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 19.4% ขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนที่ได้จากการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายเพิ่มขึ้น 509.9% เมื่อเทียบกับ พ.ย.54 และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 263.7% เนื่องจากความต้องการของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นตามนโยบายของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ ประกอบกับกำลังการผลิตของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ สามารถกลับมาผลิตได้เต็มประสิทธิภาพเป็นปกติ และมีการส่งมอบรถยนต์ให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัว 28% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และขยายตัวต่อเนื่องจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 24% โดยมูลค่าการขายรถจักรยานยนต์ในกรุงเทพฯ อยู่ที่ 109.2% เร่งขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 70.2% และภูมิภาคอยู่ที่ 15.7% ซึ่งเร่งขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 15.5% เป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำและจากวิกฤติอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ เนื่องจากยังคงได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 69.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 68.1 เป็นการปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน โดยมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี, ผู้บริโภคคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และความชัดเจนในเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ทั่วประเทศในปี 56 ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัว 445.8% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และขยายตัวเพิ่มขึ้น 206.8% เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังการผลิตของบริษัทรถยนต์ที่มีการเร่งผลิตเพิ่มสูงขึ้น และมีการส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการลงทุนภาคเอกชน ภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน จากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย.55 ขยายตัว 64.7% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และขยายตัวต่อเนื่อง 86.4% จากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีปัจจัยจากฐานที่ต่ำและวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 54 และปัจจุบันความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ฟื้นตัว สอดคล้องกับความต้องการ(Supply) ของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยอดขายปูนซีเมนต์ขยายตัว 24% เมื่อเทียบกับ พ.ย.54 และขยายตัวต่อเนื่อง 30.9% จากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา

ส่วนภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล เบิกจ่ายงบประมาณจำนวน 299.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 99.6% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 87% โดยรายจ่ายงบประมาณปี 55 เบิกจ่ายจำนวน 270.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 105.4% โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 223.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 75.8% และ รายจ่ายลงทุน 47.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 913.1% สำหรับรายจ่ายเหลื่อมปีเบิกจ่ายได้ 29 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 57.9% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 สำหรับผลการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ในเดือน พ.ย.55 เท่ากับ 174.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.6% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 10.5% สำหรับฐานะการคลังขาดดุล -136.6 พันล้านบาท จากบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า การส่งออกมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 19.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 26.9% เมื่อเทียบกับ พ.ย.54 และเร่งขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 15.6% เนื่องมาจากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนจากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 54 ประกอบกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมส่งออกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกไปรายประเทศพบว่าสามารถขยายตัวได้ในอัตราเร่งเกือบทุกประเทศยกเว้นประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ทั้งนี้ การส่งออกหลักที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีนขยายตัว 32.1% อาเซียน-9 ขยายตัว 18.6% และออสเตรเลียขยายตัว 73% ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 21.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 24.5% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.54 และเพิ่มขึ้นจากเดือนต.ค.ก่อนหน้าที่ขยายตัว 21.6% อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าในเดือน พ.ย.55 ขาดดุลอยู่ที่ -1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านการผลิตขยายตัวในระดับสูงที่ 82.6% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือน ต.ค.ก่อนหน้านี้ 36.0% เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำและวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ย.54

ประกอบกับกลุ่มอุตสาหกรรมมีการขยายเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัว 795.9% อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว 254.8% และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทแอร์ ตู้เย็น พัดลมขยายตัว 138.8% นอกจากปัจจัยฐานต่ำในปีที่แล้วแล้วยังได้รับอานิสงส์จากภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขยายกำลังการผลิตที่เร่งขึ้นมาก สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.55 อยู่ที่ระดับ 95.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาที่ระดับ 93.0 ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นผลจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากความต้องการสินค้าและบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ก่อสร้างและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย.55 ขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบกับ พ.ย.54 ต่อเนื่องจากเดือน ต.ค.ก่อนหน้านี้ขยายตัว 5.4% เนื่องจากมีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต สอดคล้องกับผลผลิตหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.7 ตามการเพิ่มขึ้นผลผลิตสุกรและไก่เนื้อเป็นสำคัญ

ภาคบริการ มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนนี้ มีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 2.1 ล้านคน ขยายตัว 60.6% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และขยายตัวเร่งขึ้นมากจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 20.5% โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มประเทศ เช่น เอเชียตะวันออก อาเซียนและยุโรป ขยายตัว 208.3% 43.6% และ 12.8% ตามลำดับ

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.7% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 และลดลงจากเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา 3.3% เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าประเภทผักและผลไม้ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่มีเทศกาลกินเจ รวมถึงสินค้าประเภทยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.9% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค.ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 1.8% อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 0.6% ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 2.2 แสนคน โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือน ก.ย.55 อยู่ที่ 43.9% ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 60% ซึ่งเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก ที่เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน พ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ