มาตรการเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักโรงแรม ที่พัก โดยจะลดอัตราค่าธรามเนียมการประกอบธุรกิจรายปีลงร้อยละ 50 จากปัจจุบันที่จัดเก็บห้องละ 80 บาท ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี 2.จัดคลีนิคพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการ 3.เพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ โดยให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4.การจัดคาราวานสินค้าราถูกไปจำหน้ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบนำโครงการธงฟ่าไปจัดจำหน่าย 5.ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2 ซึ่งจะทำให้รายได้รถลดลงไปประมาณ 20,000 ล้านบาท จากที่เคยจัดเก็บได้ 60,000 ล้านบาทต่อปึ
ส่วนการปรับค่าแรง 300 บาท ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ยังคงใช้มาตรการช่วยเหลือเดิมที่ใช้ในการปรับครั้งแรก 7 จังหวัด อาทิ การช่วยเหลือการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ การลดภาษีประกันสังคม การเสริมทักษะฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพรวมถึง การปล่อยเงินกู้จาก 5 ธนาคารหลัก ในการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจต่าง ๆ
ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการเพิ่มเติมที่ออกมาจะทำให้เอสเอ็มอีแข่งขันได้มากขึ้น ส่วนปัญหาการปิดตัวของโรงงานในจังหวัดสระบุรีนั้น นายเผดิมชัย ชี้แจงว่า การปิดโรงงานไม่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าแรง แต่มาจากปัญหาการเงินของโรงงานเอง ซึ่งมองว่าผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศครังนี้จะประเมินได้ประมาณเดือนมีนาคม 2556 ดังนั้นในขณะนี้จึงถือว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบ
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ยืนยันไม่มีความจำเป็นต้องทบทวนสัญญาการก่อสร้างในโครงการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว แม้ว่าราคาค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น แต่จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1-2 ของต้นทุนทั้งหมดเท่านั้น แต่ในส่วนของสัญญาใหม่ที่เตรียมเซ็นนั้น อาจจะมีผู้ประกอบการขอทบทวนต้นทุนการก่อสร้างโครงการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็มีพร้อม เพราะถือเป็นปัจจัยต้นทุน ณ ปัจจุบันมากที่สุด