"ยังมี 130 อำเภอที่ยังไม่มีแบงก์ใดทำหน้าที่ รับฝากเงิน หรือให้สินเชื่อ แม้อำเภอเหล่านี้จะมีกองทุนหมู่บ้าน แต่ยังไม่มีสถาบันการเงินใดทำหน้าที่นี้...ธนาคารก็มีภารกิจ มีงบช่วยเหลือสังคม ก็อยากให้เกลี่ยงบนี้มาดูแลภารกิจหลักในการรับฝากเงินประชาชน" นายกิตติรัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ ได้ยืนยันต่อคณะกรรมการธนาคารว่า กระทรวงการคลังและรัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะทำให้ไม่สบายใจ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีการส่งผู้มาขอกู้เงินจนทำให้เกิดความหนักใจ พร้อมทั้งเสนอแนะให้ธนาคารออมสินหารือร่วมกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐแห่งอื่นๆ รวมถึงธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อให้มีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นทั้งบริการรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การสนับสนุนความร่วมมือกันโดยไม่คิดถึงการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ
"ไม่ได้ให้คิดเรื่องการแข่งขัน หรือเอาชนะในเรื่องขนาดสินทรัพย์หรือผลกำไร แต่แบงก์ออมสินมีหน้าทำกำไรในระดับเหมาะสม แต่ความร่วมมือจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน" นายกิตติรัตน์ กล่าว
ด้านนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จะได้หารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น ตามที่ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังให้นโยบาย โดยอาจเป็นการจัดตั้งชมรมสถาบันเงินเฉพาะของรัฐ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะมีความร่วมมือกันในการขยายสาขาในพื้นที่ห่างไกล หรืออำเภอที่ยังไม่มีการเปิดสาขาของธนาคารใดๆ เช่นในพื้นที่ จังหวัดภาคใต้ อาจขอความร่วมมือให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดสาขา ช่วงแรกอาจไม่ใช่สาขาเต็มรูปแบบ แต่อาจเป็นสาขาขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนไม่มาก เพราะธุรกรรมการเงินคงยังมีไม่มาก