(เพิ่มเติม) พณ.เผยส่งออก ธ.ค.55 โต 13.45% นำเข้าโต 4.67% ขาดดุล 2.3 พันล้านดอลล์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 23, 2013 16:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กระทรวงพาณิชย์ เผยภาวะการค้าต่างประเทศในเดือน ธ.ค.55 การส่งออกมีมูลค่า 18,101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.45% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,466.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.67% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 2,365.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่การส่งออกทั้งปี 55 มีมูลค่า 229,518.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.12% จากปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 247,590.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดุลการค้าทั้งปี 55 ขาดดุลรวมทั้งสิ้น 18,071.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อส่งออกในปี 55 มาจากสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและการลุกลามของปัญหาส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าไทย เช่น เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ เครื่องเดินทางเครื่องหนังรองเท้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เลนส์เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง นาฬิกาและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ยังอยู่ในสภาวะชะลอตัวและยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ตลอดจนผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 54

โดยการส่งออกในเดือน ธ.ค.55 เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญในภาพรวมเพิ่มขึ้น 28.4% สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์(+34.4%) เครื่องใช้ไฟฟ้า(+22.6%) ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ(+90.3%) เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก(+1%) วัสดุก่อสร้าง(+73.5%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน(+2.2%) ส่วนสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ สิ่งทอ(-3.5%) อัญมณีและเครื่องประดับ(-19.5%) ผลิตภัณฑ์ยาง(-8.3%) สิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์(-22.5%) เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า(-11.6%)

ส่วนหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรในภาพรวมลดลง 9.2% และหมวดสินค้าอื่นๆ ในภาพรวมลดลง 4.7% โดยสินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว(-12.4%) ยางพารา(-20.1%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง(-15.2%) กุ้งแช่แข็งและแปรรูป(-22.6%) น้ำตาล(-37.7%) ส่วนสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป(ไม่รวมกุ้ง)(+3.5%) ผักและผลไม้(+11%) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป(+1.5%)

โดยการส่งออกเป็นรายตลาดในเดือน ธ.ค.55 ภาพรวมส่งออกเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยตลาดหลักเพิ่มขึ้น 3.5% โดยญี่ปุ่น(+3.1%) สหรัฐอเมริกา(+4.6%) สหภาพยุโรปสมาชิกเดิม 15 ประเทศ(+2.9%), ตลาดศักยภาพสูงเพิ่มขึ้น 13.5% โดยตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน(9)(+13.1%) (โดยอาเซียนเดิม(5)(+13.8%) อินโดจีนและพม่า(+11.9%)) จีน(+10.1%) ฮ่องกง(+40.9%) เกาหลีใต้(+14%) ไต้หวัน(+19%) แต่ตลาดที่ลดลงได้แก่ อินเดีย(-12.1%), ตลาดศักยภาพระดับรองเพิ่มขึ้น 27.8% โดยทวีปออสเตรเลีย(+71.7%) ตะวันออกกลาง(+16.5%) ทวีปแอฟริกา(+18%) ลาตินอเมริกา(+22.3%) สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศ(+10.5%) รัสเซียและCIS(+0.7%) แคนาดา(+0.7%) และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้น 58.6%

ขณะที่ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 55 เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ และหมวดสินค้าอื่นๆ โดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญเพิ่มขึ้น 7% โดยสินค้าที่ส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์(+1.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้า(+2.6%) ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ(+29.9%) วัสดุก่อสร้าง(+26.4%) อัญมณีและเครื่องประดับ(+6.9%) ผลิตภัณฑ์ยาง(+0.2%) สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์(+4.3%) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์(+6.9%) อาหารสัตว์เลี้ยง(+16.2%) สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก(-1.7%) สิ่งทอ(-12.2%) เครื่องเดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า(-8.2%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน(-1.6%) ส่วนหมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 4.9%

ส่วนหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรลดลง 10.8% โดยสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ ข้าว(-28%) ยางพารา(-31.1%) กุ้งแช่แข็งและแปรรูป(-17.3%) สินค้าที่ส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง(+6.9%) อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป(ไม่รวมกุ้ง)(+11.6%) ผักและผลไม้(+1%) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป(+10%) น้ำตาล(+8.7%)

โดยการส่งออกในปี 55 ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดศักยภาพสูง ตลาดศักยภาพระดับรอง และตลาดอื่นๆ โดยตลาดศักยภาพสูงเพิ่มขึ้น 3.7% โดยตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน(9)(+5%)(โดยอาเซียนเดิม(5)(+2.2%) อินโดจีนและพม่า(+12%)) จีน(+2.5%) อินเดีย(+5.7%) ฮ่องกง(+9.6%) เกาหลีใต้(+4.4%) แต่ตลาดที่ลดลง ได้แก่ ไต้หวัน(-11.5%), ตลาดศักยภาพระดับรองเพิ่มขึ้น 9.2% โดยตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย(+22.1%) ตะวันออกกลาง(+6.6%) ทวีปแอฟริกา(+6.7%) ลาตินอเมริกา(+14.2%) แต่ตลาดที่ลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรปสมาชิกใหม่ 12 ประเทศ(-13.7%) รัสเซียและ CIS(-3.2%) แคนาดา(-7.5%) และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.9%

ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักลดลง 2% โดยญี่ปุ่น(-1.6%) สหภาพยุโรปสมาชิกเดิม 15 ประเทศ(-9.2%) ขณะที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น(+4.6%)

ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเข้ามาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, การนำเข้าสินค้าเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงซึ่งไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ และนำเข้าในช่วงสิ้นปีเพื่อสับเปลี่ยนเครื่องจักรในการผลิตสินค้ารุ่นใหม่, การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สำหรับการผลิตเพื่อส่งออก, การนำเข้ารถยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นตามยอดการผลิตที่มีการสั่งจองที่ยังค้างอยู่

สำหรับภาพรวมการนำเข้าในปี 55 หมวดสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเชื้อเพลิง(+9.5%)(ประเภทน้ำมันดิบ(+9%) น้ำมันสำเร็จรูป(+14.7%) ก๊าซธรรมชาติ(+11%) หมวดสินค้าทุน(+23.6%)(เครื่องจักรกล(+31.1%) เครื่องจักรไฟฟ้า(+27.4%) เครื่องคอมพิวเตอร์(+14.1%)) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค(+1.7%)(เครื่องใช้ไฟฟ้า(+24.4%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม(+6.8%) หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง(+77.8%)(ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์(+93.1%) รถยนต์นั่ง(+60.3%) รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก(+16%)

ส่วนหมวดสินค้าที่ลดลง ได้แก่ หมวดวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป(-6.2%)(เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ(-34.6%) เคมีภัณฑ์(-0.3%) อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(-7.6%)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ