ทั้งนี้ ภาคเอกชนมองว่าการจัดทำความตกลง FTA ไทย-ยุโรปได้ภายในเวลาอันรวดเร็วจะสามารถทดแทนการที่ประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลาการ(GSP)เป็นการถาวรจากสหภาพยุโรปในปี 58 ได้ เพราะสินค้าไทยที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิ GSP ประเมินแล้วอาจได้รับผลกระทบเป็นมูลค่าราว 8 หมื่นล้านบาท เช่น สินค้าในกลุ่มกุ้งสดแช่เย็น เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ รองเท้า อาหารสำเร็จรุป และยางรถยนต์ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ภาคเอกชนยังเห็นว่า รัฐบาลควรศึกษาผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของการยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่าความตกลงด้านทรัพยสินทางปัญญาระหว่างประเทศ (PRIPs PLus) โดยให้เวลาภาคเอกชนปรับตัวพร้อมกับมีมาตรการเยียวยาในทุกประเด็นที่เกิดผลกระทบจากการเจรจา โดยเฉพาะประเด็นการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ NGO ในข้อกังวลที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพยสินทางปัญญาในกลุ่มของยารักษาโรค เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการคุ้มครองพันธุ์พืช
อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นเดือนมี.ค.นี้ ทางกกร. และ สภาธุรกิจไทย-สหภาพยุโรป จะจัดงานสัมมนาเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเปิดเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งจะได้นำมารวบรวมเพื่อประกอบให้การเจรจาในครั้งนี้เกิดประโยชน์มากที่สุด