เหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นถึงแม้ว่าสภาคองเกรสของสหรัฐจะยังคงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน โดยหลังจากที่ได้บรรลุข้อตกลงในการประชุมกันเรื่องหน้าผาการคลังเป็นระยะเวลา 11 ชั่วโมงในปี 2555 ก็ยังมีต้องมีการถกเถียงกันต่อในเรื่องวิกฤตเพดานหนี้ และคาดว่าเจ้าหน้าที่นิติบัญญัติจะลากประเด็นดังกล่าวยาวไปจนถึงนาทีสุดท้าย ขณะที่สภาคองเกรสออกเสียงลงมติให้ระงับเพดานเงินกู้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็เป็นการหยุดพักเพียงชั่วคราวเท่านั้น
นายเบอร์นาร์ด บูมอห์ล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกของอีโคโนมิค เอาท์ลุ๊ค กรุ๊ป กล่าวว่า “สิ่งที่เรากำลังเห็นในขณะนี้ก็คือการได้ดูว่ารัฐบาลจะเป็นอย่างไรในระยะนี้ และนั่นไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับภาคเอกชน"
ในขณะที่ความไม่แน่นอนของภาครัฐบาลสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจสหรัฐได้ใช้ความรอบคอบมากขึ้นกับการเล่นละครของรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เพื่อไม่ให้รัฐบาลเดินผิดทาง ภาคเอกชนควรจะแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
“ปัจจุบัน อุปสงค์ในภาคเอกชนและและความเชื่อมั่นของประชาชน ธุรกิจ และ ตลาด ปรับตัวสูงขึ้น" นายบูมอห์ลกล่าว
นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า หากสามารถแก้ปัญหาวิกฤตเพดานหนี้ได้ ธุรกิจจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการวางแผนสำหรับอนาคต
“ภาคธุรกิจได้ยกเลิกโครงการต่างๆไปหลายโครงการ และหากมีความชัดเจนขึ้นอีกเล็กน้อยเนื่องจากเราได้ทำให้รัฐบาลดำเนินการบางอย่าง เราคิดว่าโครงการดังกล่าวก็จะถูกนำกลับมาเริ่มดำเนินการใหม่อีกครั้ง" แซม บูลลาร์ด นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเวลล์ส ฟาร์โก กล่าว พร้อมกับเสริมว่า การใช้จ่ายด้านทุนของภาคธุรกิจจะมีส่วนช่วยเศรษฐกิจขยายตัวตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป
แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่แน่ชัดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะช่วยให้การจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นเมื่อไหร่ เนื่องจากยังคงมีจำนวนผู้ว่างงานสูงถึง 12 ล้านคนและอีกหลายล้านคนสามารถหาได้เพียงงานชั่วคราวเท่านั้น
บทวิเคราะห์โดยแมทธิว รัสลิง จากสำนักข่าวซินหัว