ดังน้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ตนเองไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์และนักการเงิน
"ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อ.พันศักดิ์ ดร.โกร่ง และเลขาสภาพัฒน์ฯ เห็นตรงกันว่าน่าจะมีการปรึกษากันเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ หรือนักการเงินว่าจำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างไร...ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้ผมไปหารือกับ ธปท.และ กนง." นายกิตติรัตน์ กล่าว
พร้อมกันนี้ ยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีควบคุมการไหลเข้า-ออกของเงินตราต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินบาทแข็งโดยเด็ดขาด แต่จะใช้กลไกบริหารนโยบายการเงิน และยืนยันว่าไม่มีแนวทางจะใช้มาตรการภาษีที่จะมีผลกระทบกับผลตอบแทนการลงทุนด้วย
นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ธปท.รายงานต่อที่ประชุมในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทพบว่าเป็นช่วงสั้นๆ ที่เกิดจากเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรระยะสั้น แต่มองว่ายังมีความเสี่ยงเพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามาดังกล่าวยังไม่มีหลักประกันว่าจะเป็นการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ซึ่งเกรงว่าอาจจะมีผลกระทบในภาพรวมได้