โดยแผนระยะเร่งด่วน คือ จะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงสุขอนามัยโรงเพาะฟักกุ้งทะเลเพื่อป้องกันความสูญเสียจากกลุ่มอาการตายด่วนใน 4 โซน คือ ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรีและตราด ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดพังงา รวมถึงการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่ดีในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยง และสนับสนุนให้มีการใช้ลูกกุ้งคุณภาพดี รวมถึงสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโรคระบาดด้วย
ด้านนายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคตายด่วนในกุ้ง เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาวิจัยจาก เกษตรฯ เตรียมของบ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อป้องกันผลกระทบต่อผลผลิตกุ้งของประเทศจากโรคดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
สำหรับสถานการณ์การผลิตกุ้งของประเทศขณะนี้ พบว่า ผลผลิตกุ้งในปีนี้กับปีที่ผ่านมาไม่แตกต่างกันมากนัก โดยผลผลิตกุ้งในเดือน ม.ค.56 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 32,000 ตัน ซึ่งลดลงจากเดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% และหากเปรียบเทียบระหว่างเดือน ม.ค.56 กับช่วงเดือนเดียวกันของก่อนพบว่า ผลผลิตกุ้งลดลงไม่มานักอยู่ที่ประมาณ 8% ซึ่งโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลง ได้แก่ โรคจุดข้าวในกุ้งคิดเป็น 44% โรคหัวเหลืองคิดเป็น 3% โดยปริมาณกุ้งที่เสียหายทั้งหมดคิดเป็น 17% ของกุ้งที่ปล่อยในเดือนนี้ โดยพบว่าพื้นที่ที่เสียหายที่สุดอยู่ทางภาคใต้ตอนล่างคิดเป็น 35% ของการปล่อยกุ้ง