ตอนนี้มีการตั้งข้อสังเกตุว่าดอกเบี้ยไทยสูงกว่าสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาวะเงินไหลเข้าและอาจสร้างภาวะฟองสบู่ได้ ซึ่งมองว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยขึ้นกับเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีลักษณะสำคัญซึ่งแตกต่างไปจากสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ดังนั้นมองว่าดอกเบี้ยไทยสูงเมื่อเทียบดอกเบี้ยต่างประเทศ อาจเกิดแรงจูงใจให้มีเงินไหลเข้าประเทศนั้น มองว่าปัจจัยที่จูงใจให้มีเงินไหลเข้าประเทศจะมาจากศักยภาพของเศรษฐกิจประเทศนั้น ที่มีโอกาสในการเติบโต รวมถึงนักลงทุนจะพิจารณาพิจารณาในเรื่องความมั่นคง เสถียรภาพและความเสี่ยง โดยไม่ได้มองเรื่องดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลัก
"กนง.ดูเรื่องนี้ จะดูข้อมูลที่อัพเดทซึ่งจะมีการประชุมทุก 16 สัปดาห์ หากข้อมูลหลังเดือนพ.ย.ชี้ไปทางอื่นก็อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่แตกตกต่างก็เป็นไปได้" ผู้ว่าการธปท. กล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี มี net inflow เข้ามาราว 2 พันล้านเหรียญขณะนี้เริ่มชะลอลง โดยรวมมีทั้งเงินไหลเข้าและไหลออกทั้งในตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามธปท.ไม่ได้นิ่งนอนใจยังติดตามสถานการณ์เงินไหลเข้าออกต่อไป ทั้งนี้มองว่าในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่กังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท ธปท.มีหน้าที่ในการติดตามดูแล หากพบกลไกตลาดบิดเบือน หรือพบธุรกรรมที่ทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนบิดเบือน ธปท.พร้อมใช้กฎกติกาหรือเครื่องมือที่มีอยู่เข้าทำงานเพื่อไม่ให้กลไกตลาดบิดเบือน แต่ยืนยันว่าธปท.ไม่ใช่ตัวเล่นหลักในอัตราแลกเปลี่ยน แต่ผู้เล่นหลัก คือ inflow และ outflow โดยธปท.จะติดตามเพื่อให้เกิดความสมดุล ไม่ทำให้ตลาดเกิดความเปราะบาง