โดยโรงไฟฟ้าที่จะต้องหยุดผลิต ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า 6 แห่งภาคตะวันตก รวมกำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์ แต่ กฟผ.ได้เจรจากับโรงไฟฟ้าราชบุรี ปรับเปลี่ยนให้สามารถใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าได้เกือบ 2,000 เมกะวัตต์ จึงทำให้กำลังผลิตจะหายไปรวม 4,100 เมกะวัตต์ และ กฟผ.ได้สั่งให้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าบางแห่งในช่วงดังกล่าว รวมทั้งให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าเก่า ทั้งน้ำมันเตาและดีเซล ได้แก่ โรงไฟฟ้าบางปะกง จำนวน 4 โรง รวมกำลังผลิต 2,000 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพระนครใต้จำนวน 2 โรง กำลังผลิตรวม 600 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งเจรจาโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในและต่างประเทศให้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น แต่มีปัญหาภัยแล้งอาจผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณต่ำ โดยขณะนี้จากการหารือทั้งโครงการน้ำงึม2 และน้ำเทิน2 จากลาวพร้อมที่จะผลิตไฟฟ้าเต็มที่
นายดิเรก ลาวัลย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติจะอยู่ที่ประมาณกว่า 2 บาทต่อหน่วย ขณะที่น้ำมันเตามีต้นทุนอยู่ที่กว่า 4 บาทต่อหน่วย และน้ำมันดีเซลอยู่ที่กว่า 6 บาทต่อหน่วย ซึ่งในช่วงก๊าซฯ ขาดจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ(FT) ให้เพิ่มขึ้น
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) หรือเอ็กโกกรุ๊ป กล่าวว่า เอ็กโกพร้อมที่จะเดินเครื่องโรงไฟฟ้าระยอง 1,200 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว จากปกติโรงไฟฟ้าระยองจะไม่ค่อยถูกสั่งเดินเครื่อง เพราะประสิทธิภาพต่ำต้นทุนจะสูง โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะสิ้นสุดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในปี 2557 และขณะนี้เอ็กโกได้เสนอประมูลไอพีพี 2 โครงการ คือ ในพื้นที่โรงไฟฟ้าระยอง กำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ และในพื้นที่ปลวกแดงอีก 2,700 เมกะวัตต์