นอกจากนี้ได้ประสานกับผู้รับสัมปทานของแหล่งไพลินเหนือ ซึ่งมีกำลังการผลิตก๊าซฯ 210 ล้านลบ.ฟุต/วัน และแหล่งปลาทอง ซึ่งมีกำลังการผลิตก๊าซฯ 200 ล้านลบ.ฟุต/วัน ให้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงในช่วงดังกล่าวออกไปก่อน จนกว่าการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซยานาดาจะแล้วเสร็จ
ก่อนหน้านี้ แหล่งยานาดา แจ้งว่าจะหยุดซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซธรรมชาติในช่วง 4-12 เม.ย.56 เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวของแท่นก๊าซเผาทิ้ง และแท่นที่อยู่อาศัย ซึ่งต้องมีการติดตั่งใหม่ จึงส่งผลให้ต้องหยุดรับก๊าซจากแหล่งในสหภาพพม่าทั้งหมด
ด้าน บมจ.ปตท.(PTT) นั้น กระทรวงพลังงานได้ขอให้สำรองน้ำมันและน้ำมันดีเซลให้กับโรงไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซฯ และให้เตรียมการจัดการก๊าซ NGV โดยเบื้องต้นจะมีปริมาณก๊าซค้างในท่อ 350 ล้านลบ.ฟุต ซึ่งจะจ่ายให้กับสถานี NGV แม่ใน จ.ราชบุรีได้โดยไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับสถานีอื่นๆ จะใช้ก๊าซฯ จากฝั่งตะวันออกจ่ายย้อนเข้ามา ซึ่งสามารถใช้กับรถยนต์ทั่วไปได้
สำหรับผลกระทบด้าน LPG เนื่องจากมีการจัดส่งก๊าซเข้าโรงแยกก๊าซในระบบลดลงประมาณ 10,000 ตัน ซึ่งได้มีแผนรองรับโดย 5,000 ตัน จะใช้ในส่วนของ Inventory ที่มีอยู่และอีก 5,000 ตัน จะพิจารณานำเข้าเพิ่มเติม
ด้านไฟฟ้า กระทรวงพลังงานได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เดินเครื่องปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าเป็นน้ำมันดีเซลในโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซฯ ในกลุ่มโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตก(โรงไฟฟ้าราชบุรี ราชบุรีพาวเวอร์ และโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่) นอกจากนี้ ให้กฟผ.ประสานกับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ใช้อัตราไฟฟ้าแบบ Interuptible Rate ให้ทำการลดการใช้ในช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุง ซึ่งจะทำให้ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 56 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ในวันที่ 5 เม.ย.56 ซึ่งเป็นวันที่คาดการณ์ว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดในรอบปีและอาจมีการใช้ไฟสูงสุด ทางกระทรวงพลังงานได้จัดกิจกรรมรณรงค์ ลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวาลา 14.00-14.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล และวันที่ 13 เม.ย. 56 กระทรวงพลังงานพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเตรียมการซ้อมแผนรองรับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางเตรียมความพร้อมให้แก่ประเทศหากเกิดภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานต่อไป