นายบุญชัย กล่าวว่า ในเดือน มกราคมบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโต่อเนื่องและสมดุลมากขึ้น ทั้งการใช้จ่ายในประเทศจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนการบริโภคภาคเอกชน ภาคการผลิตมีแนวโน้มเติบโตที่ดีต่อเนื่อง
"เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตดี ทั้งในเชิงเสถียรภาพภายในและภายนอกที่ยังเติบโตดี" นายบุญชัย กล่าว
ทั้งนี้ สศค. จะได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยสำหรับปี 2556 และประกาศในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2556 ต่อไป เนื่องจากขณะนี้ยังเร็วไปที่จะประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5% ซึ่งขอติดตามสถานการณ์ในเดือน ก.พ.ก่อนจะมีทบทวนประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ โดยยอมรับว่ายังมีปัจจัยที่ต้องติดตามที่จะมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการเลือกตั้งอิตาลี ซึ่งจะมีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลและนำไปสู่การที่จะปฎิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดตามข้อตกลงหรือไม่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ตลาดได้ตอบรับข่าวนี้แล้ว สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่เร่งตัวขึ้น สะท้อนถึงความไม่มั่นใจว่าอิตาลีจะทำข้อตกลงได้
นอกจากนี้ปัจจัยในประเทศ เกี่ยวยังมีปัญหาภัยแล้งที่อาจจะมีผลต่อภาคเกษตร หลังจากในเดือน ม.ค.แม้ปริมาณผลผลิตภาคเกษตรสินค้า แต่รายได้ภาคเกษตรลดลง เนื่องจากราคายางพาราที่ปรับลดลงราว 10%
ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับสมมติฐานในการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจใหม่ โดยคาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 2-3% จากปีก่อนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 109 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นมากนัก
"ค่าเงินบาที่แข็งค่าไม่ได้น่ากังวล เพราะถือว่ายังมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง และไม่ได้มีผลกระทบต่อภาคการส่งออกเลย แต่หากเงินบาทผันผวนแรง อาจส่งผลกระทบต่อการค้าแน่นอน" นายบุญชัย กล่าว
ทั้งนี้การจัดทำประมาณการเศรษฐกิจไทยยังไม่รวมผลจากการใช้จ่ายภาครัฐ ตาม พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งหากมีการเร่งการใช้จ่ายได้มากจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรายจ่ายทุก 1 แสนล้านบาท จะกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัวได้ 0.4% แต่ทั้งนี้มองว่าการใช้จ่ายตาม พ.ร.บ.กู้เงินฯ ในปีแรกอาจมีการใช้จ่ายได้ไม่มาก แต่จะใช้จ่ายที่เร่งตัวขึ้นในปีต่อๆไป