"หากภาษีต่ำและทุกคนเข้าสู่ระบบก็เนเรื่องที่ดี แต่ตอนนี้มีหลายบริษัทมองว่ายังมีคนไม่เข้าสุ่ระบบ การแสดงยอดเงินได้พึงประเมินยังไม่ตรงความจริง แต่ที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมือดีขึ้น รายได้ภาษีก็ดีขึ้น...ถ้าจะทำ ทำไมไม่ทำให้ต่ำกว่า ก็มีโอกาสที่จะทำภาษีให้ต่ำกว่าฮ่องกง สิงคโปร์ได้" นายกิตติรัตน์ กล่าว
สำหรับ พ.ร.บ.โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้าบาท จะนำเสนอที่ประชุม ครม.ในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.56) โดยยังคงกรอบวงเงินเดิม แต่อาจมีการปรับรายละเอียดโครงการลงทุนเล็กน้อย เช่น จะมีการลงทุนในการเพิ่มด่านศุลกากรด่านช่องจอม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในอนาคต รวมถึงอาจมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางคมนาคมบางจุด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าจะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้ในไตรมาส 3/56 และกว่าจะเริ่มโครงการลงทุนจริงยังต้องใช้เวลาอาจเป็นช่วงปลายปีนี้ ดังนั้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจึงอาจยังไม่มีผลกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในปีนี้ แต่จะเริ่มเห็นชัดเจนในปีหน้า โดยปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในอัตรา 4.5-5.5% สอดคล้องกับการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
นายกิตติรัตน์ กล่าวถึงการที่ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ออกมาเตือนประเทศในเอเซียให้ระวังเงินทุนเคลื่อนย้ายและภาวะฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น ถือเป็นเรื่องที่จับตา แต่มองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่เกิดภาวะฟองสบู่ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังมีพื้นที่ให้ขยายตัวได้อีก แตกต่างจากบางประเทศที่เป็นเศรษฐกิจเมืองและมีอุปทานเกิดใหม่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่มีพื้นที่ขยายตัวที่จำกัดทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับสูงขึ้น และผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังมีจำนวนมาก และมีความเข้มแข็ง ดังนั้นอุปสงค์และอุปทานยังทำงานที่สอดคล้องกัน ไม่เป็นอันตรายต่อระดับราคา แต่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะต้องระมัดระวัง
"การที่มีสภาพคล่องในระบบมากทำให้มีเงินร้อนเข้ามาเก็งกำไร แต่มองว่าส่วนใหญ่จะเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ และเมื่อมีการขายตราสารฯ ก็จะมีสภาพคล่องอยู่ ก็อาจขยายมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ ก็ต้องจับตาทั้งทางตรง ทางอ้อม แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่ในระบบที่เป็นผลกระทบรุนแรง" นายกิตติรัตน์ กล่าว