รายงาน “Pacific Economic Monitor" ฉบับล่าสุดของ ADB ระบุว่า ถึงแม้เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวจะขยายตัวช้า แต่ก็ขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน
ปาปัวนิวกินีเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก เศรษฐกิจขยายตัวถึง 9.2% ในปี 2555 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง การขนส่ง การเงิน และการค้าปลีก การฟื้นตัวของภาคเหมืองแร่ ตลอดจนการริเริ่มโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวที่ช่วยส่งเสริมการบริโภค และเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล ขณะที่ผลผลิตน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรที่ลดลงเป็นปัจจัยที่สกัดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของติมอร์ตะวันออกเพิ่มขึ้น 10.6% ในปี 2555 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นของรัฐบาล ส่วนการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่อุดมสมบูรณ์ได้ช่วยหนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์นอกกลุ่มน้ำมันปิโตรเลียม 10.9% ขณะที่รายได้จากปิโตรเลียมกลับลดลง
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศที่เหลือในภูมิภาคขยายตัวช้าลงในปี 2555 โดย ADB เปิดเผยว่า รายรับจากการส่งออกซุงฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในหมู่เกาะโซโลมอน ในขณะเดียวกัน รายได้ที่ลดลงของโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคเป็นเหตุให้เศรษฐกิจของสาธารณรัฐคิลิบาส สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ซามัว และประเทศตองกาขยายตัวในระดับต่ำ สำนักข่าวซินหัวรายงาน