รายงานของ OECD ฉบับล่าสุดระบุว่า การระบายสต็อกในไตรมาส 4 ปี 2555 ฉุดรั้งการขยายตัวของจีดีพีลง 0.3%
"การหดตัวในการบริโภคภาครัฐลดการขยายตัวของจีดีพีลงอีก 0.1% ขณะที่ผลจากการบริโภคในภาคเอกชน การสะสมทุนถาวร (Gross fixed capital formation) และการส่งออกสุทธิช่วยชดเชยการลดลงของจีดีพีบางส่วนเท่านั้น" OECD ระบุ
ขณะที่ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว แต่ละประเทศในกลุ่ม OECD ยังคงมีทิศทางที่ต่างกัน แม้ว่าการระบายสต็อกจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในประเทศส่วนใหญ่ ยกเว้นในเยอรมนี
สำหรับเยอรมนี สต็อกสินค้าคงคลังช่วยเพิ่มการขยายตัวของจีดีพี 0.2% "แต่ผลกระทบเชิงลบที่มีนัยสำคัญเข้ามาบดบังได้มากกว่าจากการส่งออกสุทธิ ซึ่งกดการขยายตัวในภาพรวมลงสู่ -0.6%" OECD ระบุ
ขณะที่ปัจจัยหลักต่อการขยายตัวของจีดีพีในแคนาดามาจากการบริโภคภาคเอกชนเช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่น ขณะที่ปัจจัยหลักต่อขยายตัวของจีดีพีในสหรัฐคือการลงทุน อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกบดบังโดยการระบายสต็อกอย่างหนัก
ทางด้านฝรั่งเศส การระบายสต็อกและการลงทุนได้ฉุดรั้งจีดีพีลง 0.4% และ 0.2% ตามลำดับ ขณะที่การขยายตัวของจีดีพีในอิตาลีและอังกฤษได้รับผลกระทบจากการระบายสต็อกเช่นกัน สำนักข่าวซินหัวรายงาน