ขณะที่นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL) กล่าวว่า ปัจจุบันการเดินทางด้วยระบบรางในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนเพียง 4% คาดว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า เมื่อระบบรางมีระยะทางเพิ่มขึ้นจะทำให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบรางเป็นไม่ต่ำกว่า 30% และระบบรางจะเป็นทางเลือกหลักในการเดินทาง จากเดิมเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนั้น รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ยังเป็นปัจจัยหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเมิองให้มีความเจริญมากขึ้น สังเกตจากแนวเส้นทางของโครงการรถไฟเอ็มอาร์ทีในปัจจุบันที่มีแผนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รอบสถานีเป็นจำนวนมาก เช่น สถานีสามย่าน บริเวณตลาดสามย่านกำลังพัฒนาใหม่ สถานีสวนลุม มีโครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดประมาณ 88 ไร่ สถานีคลองเตย กลุ่มธุรกิจของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีพื้นที่ขนาดใหญ่เตรียมไว้พัฒนา สถานีศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ มีแผนย้ายโรงงานยาสูบและใช้พื้นที่เดิมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ส่วนนายเอก สิทธิเวคิน หัวหน้าสำนักงานนโยบายแผนวิจัยและพัฒนา การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟสายสีแดงจะเป็นต้นแบบของการระจายเมืองไปสู่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เพราะเป็นเส้นทางหลักที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังภูมิภาคต่างๆ เช่น ไปบ้านภาชี ฉะเชิงเทรา ราชบุรี โดย ร.ฟ.ท.มีแผนสร้างทางคู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ปัจจุบันโครงการอยู่ในแผนกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท คาดว่าจะใช่เวลาก่อสร้าง 4-5 ปี