โดยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ 1.เป็นเตาอบที่เวียนอากาศภายในห้องอบกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง 2. มีความปลอดภัยในการใช้งานเพิ่มขึ้น โดยมีการติดตั้งจุดดักสะเก็ดไฟที่อาจหลุดลอยเข้าสู่ห้องอบ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ และ 3. มีการติดตั้งชุดวัดอุณหภูมิของลมร้อนที่เข้าห้องอบ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถควบคุมอุณหภูมิลมร้อนไม่ให้สูงเกินไปและทำให้มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ ส่งผลให้แผ่นยางรมควันมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ล่าสุดได้มีการติดตั้งเตาอบยางแผ่นรมควันดังกล่าวให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยาง (สกย.) และผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยไปแล้วจำนวน 32 เตา ในราคาเตาละประมาณ 7 แสนกว่าบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 31.3 ล้านบาท และได้ขยายผลไปยังจังหวัดตรัง จำนวน 3 เตา และในภาคตะวันออกคือจังหวัดตราด จำนวน 4 เตา โดยเตาอบยางแผ่นรมควันดังกล่าวได้รับความสนใจจากโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ โดยได้เปิดเว็บไซต์โครงการแล้ว คือ www.moi-osmrubberproject.com
“ราคายางจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ของตลาดโลกเป็นหลัก ยางแผ่นรมควันนิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมากใน จีน เอเชีย และกลุ่มอาเซียน กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปยางแผ่นรมควัน มีความสำคัญต่อระบบการผลิตและราคาในตลาดโลก ทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากที่ไทยเป็นประเทศที่ปลูกยางพาราและส่งออกยางดิบมากที่สุด ดังนั้น การลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพยางแผ่นรมควันจะทำให้การแปรรูปยางของเราได้เปรียบคู่แข่ง และพร้อมจะนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะทำให้ตลาดการค้าผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว โดยที่ไทยจะเป็นผู้นำของตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ไม่ว่าจะเป็น ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนภายในรถยนต์ ถุงมือยาง รองเท้า สายยางยืด แทนที่การส่งออกยางดิบอันดับ 1 ของโลก"ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว