ในเดือน มี.ค.56 การส่งออกขยายตัวเพียง 4.55% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากคิดเป็นเงินบาทก็จะขยายตัวได้แค่เพียง 1.47%
"ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าได้ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออก และคำสั่งซื้อสินค้าในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของประเทศแล้ว"" นายนพพร กล่าว
ทั้งนี้ ภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีมาตรการต่างๆ ที่เด็ดขาดออกมาจัดการค่าเงินที่แข็งค่า เพื่อเป็นการส่งสัญญาณ และเป็นเหตุผลทางจิตวิทยาอีกด้วย
ขณะที่นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME BANK) กล่าวว่า ผลจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ทางผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคส่งออก ที่เป็นลูกค้าของธนาคารฯ ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะได้ทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้ก่อนหน้าแล้ว
"ผู้ประกอบส่วนใหญ่ต้องการให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและไม่ผันผวน แต่ลูกค้าของธนาคารฯ ที่มีปัญหาหนี้ NPL ส่วนใหญ่มาจากปัญหาด้านสภาพคล่องและการบริหารจัดการมากกว่าที่จะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท" นายพิชัย กล่าว