อีกทั้งระบบไอทีที่เชื่อมโยงข้อมูลจะมีลักษณะการทำงานแบบ Real Time มีความแม่นยำ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ จึงนำมาใช้ในการวางแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการเกษตรต่างๆ ได้
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทำการวางระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากทุกหน่วยงานในสังกัดแล้ว ส่วนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะรวบรวมข้อมูลในภาพรวมด้านการเกษตรของประเทศทั้งหมด หากพบปัญหาก็จะส่งข้อมูลมายังกระทรวงเกษตรฯ ได้ทันที
“ระบบฐานข้อมูลที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้จัดทำ ไม่มีความซ้ำซ้อนกับข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เนื่องจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศฯ จะเป็นรูปแบบข้อมูลโดยละเอียดของแต่ละพื้นที่ ขณะที่ระบบข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะเป็นการสรุปข้อมูลด้านการเกษตรในภาพรวม ซึ่งข้อมูลจากทั้ง 2 ส่วน จะนำมาใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการ ทำให้ทราบถึงปริมาณพืชผลทางการเกษตร ราคาต้นทุน ตลอดจนสภาพปัญหาในพื้นที่นั้น เช่น การใช้ระบบไอทีตรวจสอบข้อมูลปาล์มน้ำมันของเกษตรกรเกี่ยวกับผลผลิตในพื้นที่ ต้นทุนการผลิต โรงงานที่รับซื้อ ตลอดจนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้แก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น"นายยุคล กล่าว