"ความเสี่ยงของผู้ประกอบการ คือความผันผวนของค่าเงิน เพราะจะทำให้ค้าขายไม่ได้ ต้นทุนสูงขึ้น เช่น เมื่อเม.ย. ที่บาทแข็ง 6% แต่ขณะนี้อยู่ที่ 3% ถือว่าใกล้เคียงเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย"นายอิสระ กล่าว
นายอิสระ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มั่นใจว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะทำได้ตามเป้าหมายเติบโต 8-9% หรือไม่ เพราะค่าเงินบาทถือเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยคงต้องรอดูในไตรมาส 2/56 ก่อน แต่หากจะเร่งให้ส่งออกเติบโตก็ต้องพยายามผลักดันเรื่องการค้าชายแดนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ประกอบกับต้องส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเมืองไทยเพื่อเพิ่มรายได้ในประเทศมากขึ้น
พร้อมทั้งได้เสนอให้ ธปท. ใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านตามด่านชายแดนกว่า 10 แห่งที่มีการค้าขายเพิ่มมากขึ้นแทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดต้นทุนของภาคเอกชนและเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ
ขณะเดียวกัน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME BANK) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ก็ควรจะเข้ามาช่วยในรื่องแหล่งทุนให้ต้นทุนธุรกิจถูกลง
นายอิสระ กล่าวถึงการลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลค่าเงินบาทว่า ต้องให้ ธปท.เป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 29 พ.ค.จะตัดสินใจอย่างไรก็ไม่ได้มีการพูดคุยกัน แต่ทางธปท. ยืนยันว่าขณะนี้มีเครื่องมือเตรียมพร้อมใว้หลายมาตรการ ซึ่งดอกเบี้ยก็ถือเป็นเครื่องมือหนึ่ง แต่ก็มีเครื่องมืออื่นผสมผสานด้วย เพื่อทำให้เงินไหลเข้าออกช้าลงหรือเป็นการระงับการเข้ามาของเงินได้ แต่ส่วนตัวมองว่าการที่เงินไหลเข้าดีกว่าเงินไหลออก