ผลจากเงินบาทปรับตัวแข็งต่อเนื่องพบว่า ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 55 จนถึงไตรมาสแรกของปี 56 มีเงินทุนต่างประเทศเคลื่อนย้ายเข้ามาในปริมาณที่สูงกว่าปกติ เฉลี่ยไตรมาสละ 4,500 ล้านดอลลาร์ จากสถิติข้อมูลเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ไตรมาสละ 2,200 ล้านดอลลาร์ โดยเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตร เพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง จากเดิมที่เป็นการเข้ามาลงทุนในเรื่องการก่อสร้างที่ส่งผลดีต่อการจ้สงงานในประเทศ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาแนวทางการดูแลให้รอบคอบ
ดังนั้น การดำเนินนโยบายด้านการเงินและนโยบายด้านการคลังควรต้องดำเนินการควบคู่กันไป แต่การใช้นโยบายการเงินจะช่วยให้ได้ผลดี รวดเร็ว และคล่องตัวมากกว่านโยบายการคลัง
"การลดดอกเบี้ยควรทำให้มี impact ถ้าลดน้อยไปก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร"นายอาคม กล่าว
เลขาธิการ สภาพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยเรื่องเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพเงินเฟ้อน่าจะเป็นประเด็นรองที่จะนำมาใช้ในการพิจารณากำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะนี้ควรคำนึงถึงเรื่องผลกระทบจากสงครามค่าเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมากกว่า
"อย่างน้อยเราต้องแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ใช่หมูที่ใครจะเข้ามาเพื่อฉวยโอกาส แต่ถ้าเรานิ่งเฉยนานๆ นี่ก็หมูแน่นอน"นายอาคม กล่าว