ส่วนการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ในเดือน เม.ย.56 อยู่ที่ 135,464 ตันต่อเดือน ลดลง 0.1% จากเดือน มี.ค.56 และลดลง 26.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 3,366 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยประมาณ 2,127 ล้านบาท และเมื่อรวมการชดเชยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยรวมทั้งสิ้น 9,919 ล้านบาท
ขณะที่การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือน เม.ย.56 อยู่ที่ 183,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 11.7% จากเดือน มี.ค.56 และลดลง 27.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 21,015 ล้านบาท
ทั้งนี้ ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-เม.ย.56) มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงรวม 977,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7% คิดเป็นมูลค่า 390,433 ล้านบาท แบ่งเป็น น้ำมันดิบ 910,000 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันสำเร็จรูป 67,000 บาร์เรลต่อวัน นำเข้าแอลพีจีรวม 136,226 ตันต่อเดือน ลดลง 12.7% คิดเป็นมูลค่า 14,990 ล้านบาท สามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ 183,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลง 9.7% คิดเป็นมูลค่า 78,106 ล้านบาท
สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือน เม.ย.56 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.56 ในส่วนของกลุ่มน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 22.91 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.9% จากเดือน มี.ค.56 และเพิ่มขึ้น 11.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็น น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 จำนวน 1.89 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือน มี.ค.56 และลดลง 78.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน น้ำมันแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 21.02 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.9% จากเดือน มี.ค.56 และเพิ่มขึ้น 81% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนน้ำมันดีเซลมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 59.37 ล้านลิตรต่อวัน ลดลง 3.4% จากเดือน มี.ค.56 และเพิ่มขึ้น 3.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ส่วนปริมาณการใช้ LPG อยู่ที่ 628,065 ตันต่อเดือน ลดลง 2% จากเดือน มี.ค.56 และเพิ่มขึ้น 5.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็น การใช้แอลพีจีในภาคครัวเรือน 187,352 ตันต่อเดือน แอลพีจีภาคอุตสาหกรรม 45,285 ตันต่อเดือน แอลพีจีภาคขนส่ง 151,894 ตันต่อเดือน และแอลพีจีภาคปิโตรเคมี 243,534 ตันต่อเดือน ขณะที่ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) อยู่ที่ 8.1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ลดลง 6%จากเดือน มี.ค.56 และเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
สำหรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 4 เดือนแรกปีนี้ กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้น 9% เฉลี่ยอยู่ที่ 22.4 ล้านลิตรต่อวัน กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้น 5% เฉลี่ยอยู่ที่ 60.2 ล้านลิตรต่อวัน LPG เพิ่มขึ้น 8% เฉลี่ยอยู่ที่ 20.8 พันตันต่อเดือน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากภาคขนส่งและปิโตรเคมี หลังรัฐบาลมีมาตรการดูแลการใช้ LPG ข้ามประเภท และ NGV เพิ่มขึ้น 11% เฉลี่ยอยู่ที่ 8.3 ล้านกิโลกรัมต่อวัน
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยต่อว่า สำหรับยอดใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.- เม.ย..) อยู่ที่ 623,000 ตัน/เดือน หรือ 20,800 ตัน/วัน เพิ่มขึ้น 8%
"เป็นการเพิ่มสูงขึ้นของกลุ่มปิโตรเคมีและขนส่งเป็นหลัก โดยเฉพาะภาคขนส่งเพิ่มขึ้นถึง 53% มาอยู่ที่4,500 ตัน/วัน"
ทั้งนี้ ปริมาณ LPG ภาคขนส่งที่เพิ่มขึ้นมาจากการเข้มงวดการบรรจุจำหน่ายผิดประเภทตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาที่ควบคุมไม่ให้มีการนำ LPG ครัวเรือนไปขายในภาคอื่นๆ และส่งผลให้ตัวเลขภาคครัวเรือนลดลง 13% มาอยู่ที่6900 ตัน/วัน โดยสัดส่วนขนส่งต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ 25:75 มาอยู่ที่ 45:55 ส่วนการใช้ภาคอุตสาหกรรมลดลง 1% มาอยู่ที่ 1,700 ตัน/วัน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายภาคขนส่ง3 บาท/กก.แต่ละเดือนประมาณเกือบ 200 ล้านบาท จึงคาดว่าทั้งปีรายได้กองทุนฯที่เพิ่มจากส่วนนี้จะสูงถึง 2 พันล้านบาทต่อปี
นายวีระพล กล่าวว่า หลังจากกระทรวงพลังงานร่วมกับตำรวจเข้มงวดการจำหน่ายผิดประเภท ทำให้การใช้กลับมาเป็นตามความเป็นจริง คือ ภาคครัวเรือนโตเท่ากับจีดีพี เหลือประมาณ 193,000 ตัน/เดือน จากธ.ค.ปีที่แล้วมียอดขาย 271,000 ตัน/เดือน ส่วนภาคขนส่งล่าสุดเพิ่มจาก 91,000 ตัน/เดือน เป็น 155,000 ตัน/เดือน ซึ่งประเมินแล้วเป็นยอดที่เหมาะสมกับรถยนต์ที่ติดตั้ง LPG 1.04 ล้านคัน