ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้เจรจาต่อรองราคาและเทคนิคกับ 4 กลุ่มบริษัทเอกชนที่ได้รับคะแนนสูงสุดอันดับแรก ให้ปรับลดราคาการก่อสร้างและเพิ่มด้านเทคนิคบางอย่างในแผนงาน หรือ โมดูล 9 แผนงาน จำนวน 10 โครงการ รวมมูลค่าการปรับลดวงเงินลงประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยลดลงร้อยละ 2-3 จากวงเงินก่อสร้างโครงการน้ำทั้งหมดจากวงเงินเปิดซองราคา
"เงิน 6 พันล้านบาทที่ต่อรองได้ จะนำมาใช้ในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านน้ำนอกจากนี้จะจ้าง NECTEC สวทช.มาช่วยทำข้อมูลด้านเทคนิค คาดว่าจะใช้งบประมาณ 60-70 ล้านบาท"
นายปลอดประสพ กล่าวว่า หลังจากครม.อนุมัติคาดว่าจะใช้เวลา 45 วันในการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา โดยเชื่อว่า 2-3 เดือนจะเริ่มเห็นการก่อสร้างโครงการฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออกได้ พร้อมยืนยันว่าไม่มีความกังวลต่อกระแสการปรับ ครม.เพราะจะยังคงดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำต่อไปและยอมรับว่าที่ผ่านมา รศ.ธงทองทำหน้าที่ได้ดี ซึ่งหลังจากนี้ภาระหน้าที่ของรศ.ธงทองในคณะกรรมการคัดเลือกก็จะหมดไป แต่จะมีหน้าที่ใหม่คือการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 2 ชุด คือ คณะกรรมการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาโครงการและคณะกรรมการกำกับโครงการ ซึ่งใน 1-2 วันนี้น่าจะมีการร่างสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา
ทั้งนี้ การทำสัญญาจะมีการแยกรูปแบบสัญญา เช่น สัญญาเรื่องเขื่อน, สัญญาฟลัดเวย์ และสัญญาที่รวมกัน
"ขั้นตอนได้ดำเนินการไปทั้งสิ้น 16 เดือน ซึ่งช้ากว่ากำหนด 14 วันเท่านั้น แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดและจากนี้ต้องดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป"