ทั้งนี้ ภาคการส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เติบโตไม่เกิน 2% จากเป้าที่ธนาคารคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวได้ 3-5%
ส่วนภาคการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเติบโตลดลงหลังจากกำลังซื้อถูกลดทอนจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลงนโยบายภาษีรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก ซึ่งส่งผลต่อภาระหนี้สินภาคครัวเรือนมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยผูกพันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับ การกระจุกตัวด้านการใช้จ่ายในการซ่อมแซมและซื้อสินค้าทดแทนหลังน้ำท่วมครั้งใหญ่ และการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์และบ้าน
ด้านปัจจัยหนุนที่ยังช่วยให้การบริโภคในประเทศไม่ได้ชะลอตัวลงไปมากมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ และภาวะการเงินผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาอย่างมาก ประกอบการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อแสวงหาโอกาสในประเทศไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามผลคำพิพากษาของศาลปกครองเกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการน้ำน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทในช่วงบ่ายนี้ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายเม็ดเงินของภาครัฐ
"ยังเชื่อแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะยังเติบโตดีกว่าครึ่งปีแรก จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป แต่อาจจะก่อให้เกิดการเร่งตัวหนี้ภาคครัวเรือนมีความเสี่ยงมากขึ้น และยังมีแรงกดดันด้านต้นทุนรออยู่โดยเฉพาะจากราคาพลังงานและค่าแรง"นายรุ่งศักดิ์ กล่าว