ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาจาก 4 ทางเลือก คือ ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางด่วน ซึ่งมีข้อเสียที่ไม่สามารถรื้อย้ายอุโมงค์ประปาได้, การใช้แนวคลองบางบัว-บางเขน แต่มีข้อเสียที่ต้องเวนคืนที่ดินกว่า 1,000 แปลง และเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่น, การปรับรูปแบบทางด่วน บริเวณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยยกเลิกทางแยกต่างระดับบางเขน แต่ก็มีข้อเสียกับการจราจรบนถนนงามวงศ์วานในช่วงระหว่างก่อสร้าง ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กังวลผลกระทบด้านเสียง
และ 4.ยกเลิกโครงการ และสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแทน มีข้อเสียที่การจราจรบนแนวถนนรัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน-ประเสริฐมนูกิจ-ศรีนครินทร์ยังเป็นปัญหาสำคัญ แต่ข้อดีคือ รถไฟฟ้าจะช่วยส่งเสริมการขนส่งมวลชนทางราง
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่ รวมทั้งให้ศึกษาแผนแม่บทโครงข่ายทางถนนด้านเหนือขึ้นไปที่มีโครงข่ายขนาดใหญ่ เบื้องต้นได้พิจารณาที่จะให้มีการก่อสร้างทางด่วนจากรังสิต-นครนายก ระยะทาง 40 กิโลเมตร