"กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่สหรัฐตรวจสอบข้าวเหนียวดำของบริษัท ยูนิเวอร์แซลไรซ์ ขนาดบรรจุ 5-10 กิโกรัม จำนวน 200 ชิ้น ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเหตุเกิดเมื่อเมษายน 56 ซึ่งพบว่ามีสารดีดีอี ซึ่งเป็นอนุพันธุ์ของสารดีดีทีตกค้าง" นายยุคล กล่าว
ทั้งนี้บริษัท ยูนิเวอร์แซลไรซ์ ได้ชี้แจง และกรมวิชาการเกษตรได้ยืนยันว่า ห้ามใช้สารเคมีตัวดังกล่าวในวงการเกษตรไทยมากว่า 10 ปี ซึ่งทางสหรัฐเข้าใจ และได้ส่งข้าวล็อตดังกล่าวกลับมา และยังอนุญาตให้บริษัทฯ ส่งข้าวไปยังสหรัฐได้ต่อไป โดยปัจจุบันนี้นี้ยังไม่มีบริษัทเอกชนไทยรายใดจาก 31 รายที่ส่งออกโดนขึ้นบัญชีดำจากสหรัฐ หรือห้ามส่งข้าวไปสหรัฐ และที่ผ่านมายังไม่มีการตรวจพบสารเคมีในข้าวที่ส่งออกไปยังสหรัฐ
นายยุคล กล่าวว่า กระบวนการตรวจสอบสินค้าเข้าประเทศเป็นขั้นตอนปกติของทุกประเทศ เมื่อพบสารเจือปนหรือการปนเปื้อนสารเคมีก็จะมีการสั่งกักเพื่อสอบ และบริษัทที่ส่งออกจะต้องเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด และหากตรวจสอบสินค้าการส่งออกพบการเจือปน 5 ครั้งก็จะโดนขึ้นบัญชีดำ
"อยากข้อสังเกตว่า ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นการจงใจปล่อยข่าว เพื่อทำลายตลาดและความเชื่อมั่นของข้าวไทย ซึ่งจะพยายามชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย รวมทั้งเดินหน้าเข้มข้นระบบโซนนิ่ง เพื่อควบคุมมาตรฐานการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น ขณะเดียวกันในวันนี้กรมวิชาการเกษตรได้ส่งรายงานการตรวจสอบตัวอย่างข้าวสารที่วางจำหน่ายในห้างค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าทั่วไป จำนวน 40 ตัวอย่าง ไม่พบสารเคมีที่ใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงตกค้างแต่อย่างใด" นายยุคล กล่าว