“เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยประสบปัญหาโรค อีเอ็มเอส ระบาดในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาหนักของอุตสาหกรรมและเกษตรกร หากโดนตัดภาษีพิเศษจีเอสพีอีก ก็จะเป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมของไทย จึงอยากให้อียูคงสิทธิพิเศษดังกล่าวไว้อีกระยะ ในระหว่างที่อุตสาหกรรมกำลังพยายามฟื้นตัว" นายสมศักดิ์ ย้ำ
อนึ่ง สหภาพยุโรปประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป รวมทั้งสินค้ากุ้ง ไปตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2555 ซึ่งจะทำให้สินค้ากุ้งแปรรูปจากไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 20% ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ขณะที่ประเทศส่งอกคู่แข่งของไทยที่ได้รับสิทธิ เสียภาษีนำเข้าที่ 7%
ด้านนายอันโตนิโอ้ เบอเรนเจอร์ หัวหน้าคณะผู้แทนการค้าและเศรษฐกิจ สำนักงานคณะผู้แทนการค้าสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ในฐานะตัวแทนฑูตอียู กล่าวว่า ทางออกที่ดีสุดขณะนี้คือการที่ประเทศไทยเจรจาการค้าเสรีไทย-อียู เพื่อช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปเคยให้คืนสิทธิพิเศษจีเอสพีให้กับสินค้ากุ้งไทย เมื่อครั้งเกิดภัยพิบัติซึนามิเมื่อปี 2547 เนื่องจากเกษตรกรไทยและพื้นที่เลี้ยงกุ้งได้รับความเสียหายเกือบหมด ประกอบกับอุตสาหกรรมกุ้งของไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจทำให้อุตสาหกรรมนี้ล่มสลาย และจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ถึง 1.5 ล้านคน
ด้านกรมศุลกากร รายงานว่า การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรป เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2556ปริมาณ 12,548 ตัน มูลค่า3,696ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกัน ลดลงร้อยละ 38 โดยปริมาณ และ ลดลงร้อยละ 34 โดยมูลค่า สืบเนื่องจากผลผลิตที่ลดลง ขณะที่มีรายงานใน Eurostat ว่า ปี 2555ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปนำเข้ากุ้ง ทั้งหมด 704,162 ตัน ขณะที่นำเข้ากุ้งจากไทย 50,021 ตัน