ดังนั้น กรมการข้าวจึงต้องสนับสนุนให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและเกิดประสิทธิผลที่จะทำให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งเรื่องการจัดทำโซนนิ่ง ซึ่งจะนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)
นอกจากนี้ ได้มอบแนวทางให้กรมการข้าวทำงานในเชิงบูรณาการอย่างคู่ขนานร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นการประหยัด งบประมาณและภาระของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งไม่เป็นการเพิ่มภาระให้เกษตรกรด้วย
นายวราเทพ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และการส่งเสริมพัฒนาข้าวไทย ได้แนะนำให้กรมการข้าวจัดทำตัวชี้วัดในขั้นตอนแต่ละแผนงานรวมทั้งระยะเวลาการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี แต่ขณะนี้กรมการข้าวผลิตได้เพียง 6 แสนตันต่อปี ดังนั้น เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการกรมการข้าวจึงควรดำเนินการใน 2 แนวทางคือ ร่วมกับเกษตรกรทั่วไปในการผลิตเมล็ดพันธุ์ และ จูงใจให้เกษตรกรรายใหญ่ที่มีรายได้จากการขายข้าวได้เกิน 5 แสนบาท ต่อฤดูกาลผลิต จำนวน 5 หมื่นราย หันมาปลูกพันธุ์ข้าว ซึ่งมีกำไรมากกว่าการนำข้าวเข้าโครงการถึงร้อยละ 10-20 หรือขายได้กิโลกรัมละ 22 บาท ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้มีเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้งบประมาณในโครงการรับจำนำข้าวลดลงด้วย