ทั้งนี้ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เสริมสร้างการใช้ พลังงานทดแทนในระดับชุมชนในรูปแบบชุมชนพลังงานสีเขียว ตลอดจนสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนใน ประเทศ
สาระสำคัญของการปรับเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนเพื่อการผลิตไฟฟ้า มีการปรับเป้าหมายใหม่ในการใช้พลังงานทด แทนเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภททั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากขยะ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ โดยเฉพาะจากหญ้าเนเปียร์ โดยแผนใหม่มีเป้าหมายรวมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้า 13,927 เมกะวัตต์ คิดเป็นเป้าหมายรวมที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 4,726 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ พลังงานจากก๊าซชีวภาพมีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุด 3,000 เมกะวัตต์ เป็นการปรับเพิ่มจากพืช พลังงานโดยเฉพาะหญ้าเนเปียร์ซึ่งกระทรวงพลังงานจะจัดตั้งต้นแบบโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 12 โรง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆเพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่เป้าหมาย
ประเภท พลังงานทดแทน เป้าหมายผลิตไฟฟ้า (เมกะวัตต์) เดิม ใหม่ 1.พลังงานลม 1,200 1,800 2.พลังงานแสงอาทิตย์ 2,000 3,000 3.พลังงานน้ำ 1,608 324 4.พลังงานชีวมวล 3,630 4,800 5.ก๊าซชีวภาพ 600 3,600 6.พลังงานจากขยะ 160 400 7.พลังงานรูปแบบใหม่ 3 3 รวม 9,201 13,927
ส่วนพลังงานลมที่ปรับเป้าหมายรับซื้อเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นเพราะผลการศึกษาระบุว่ามีพื้นที่ในหลายจังหวัดที่มี ศักยภาพ อาทิ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี
สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้น 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากกระทรวงพลังงานมีแผนจะส่งเสริม ให้มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร โดยมีเป้าหมาย 200 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน เป้าหมาย 800 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการดำเนินการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคใต้เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้มี แหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่อย่างเพียงพอ และมีความมั่นคงด้วยตนเองในภาวะปกติ โดยเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่มชั่วโมงการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่เต็มกำลังการผลิต และให้พิจารณาใช้น้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนร้อย ละ 10 ของปริมาณการใช้น้ำมันเพื่อลดปัญหาด้านการขนส่งน้ำมันเตา โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงและเพียงพอของระบบไฟฟ้าเป็น สำคัญ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ถือเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และมอบหมายให้ กกพ.กำกับดูแลการดำเนินการ
ที่ประชุม กพช. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน ซึ่งได้รายงานปัญหา อุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาปริมาณคำร้องขอเสนอขายไฟฟ้าที่มีมากกว่าเป้าหมายตามแผน AEDP ปัญหา การกำหนดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าและวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในแต่ละปีไม่สอดคล้องตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ปัญหาความล่าช้าในการออกใบอนุญาตต่างๆ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุม กพช.จึงเห็นชอบให้กำหนดปริมาณรับซื้อ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแต่ละปีให้ชัดเจนเพิ่มเติมจากปริมาณเสนอขายไฟฟ้าที่คาดว่าจะจ่ายเข้าระบบ และกำหนดวันเริ่มซื้อขาย ไฟให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแต่ละประเภทเชื้อเพลิง โดยให้สอดคล้องกับแผน PDP ทั้งนี้ให้มีการเปิดรับข้อเสนอขาย ไฟฟ้ารายใหม่โดยรับการส่งเสริมในรูปแบบ Feed-in Tariff ตามปริมาณรับซื้อที่จะมีการประกาศเป็นรายเชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป
พร้อมกับเห็นชอบให้ กกพ. ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หลักเกณฑ์และ การออกประกาศเชิญชวน กำกับดูแลขั้นตอนการคัดเลือก รวมถึงการเร่งรัดให้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามเป้าหมาย AEDP และรายงาน ผลให้กระทรวงพลังงานทราบเป็นรายไตรมาส
รวมทั้งให้ กฟผ.ร่วมกับ กกพ. จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของโครงการพลังงานหมุน เวียนที่มีสัญญาซื้อขายแล้วอย่างเร่งด่วนและรายงานผลให้ กพช. ทราบ และให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ กฟผ. กฟน.(การไฟฟ้านคร หลวง) และกฟภ.(การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) จัดทำแผนการลงทุนระบบส่งไฟฟ้าและระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับโครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนในอนาคตของประเทศ โดยนำเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid มาประกอบการจัดทำ ขณะเดียวกันให้ กกพ. เร่งรัดออกใบอนุญาตสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ One Stop Service และ รายงานผลดำเนินงานให้ กพช. ทราบ