"กำลังศึกษาดูว่าถ้าเส้นทางทางใต้ไม่ได้ ก็ไปทางอีสาน หรือเหนือ ให้เส้นทางยาวขึ้น ผลตอบแทนจะดีขึ้น หรือลดไปบางเส้นทาง...สนข.ศึกษาความคุ้มทุนรถไฟความเร็วสูง ผลการศึกษาเสร็จในเดือนธันวาคมนี้ โดยผลตอบแทนจะดูผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จะดูผลตอบแทนทางการเงินไม่คุ้ม"ดร.จุฬา กล่าว
โดยการศึกษาเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ว่าแต่ละเส้นทางมีกี่สถานี และพยายามใช้พื้นที่ของราชพัสดุ หรือที่ดินของรัฐ เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูง และถ้าใช้ พื้นที่เวนคืนเท่าไร จะได้ผลตอบแทนโครงการจะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ 4 เส้นทางที่อยู่ระหว่างการศึกษา ได้แก่เส้นทางกรุงเทพ -เชียงใหม่ แต่ช่วงแรกจะออกแบบและสร้างเส้นทางกรุงเทพ-พิษณธโลกก่อนเปิดปี 62 และปี 64 เปิดถึงเชียงใหม่ , กรุงเทพ-นครราชสีมา , กรุงเทพ-หัวหิน และ กรุงเทพ-ระยอง
ส่วนการทำรายงานสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก จะส่งได้ในเดือนมกราคม 57 เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา จะส่งได้ในเดือนมีนาคม 57 และเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน จะส่งในเดือนมิถุนายน 57 ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง เพิ่งจะเริ่มดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศ
ดร.จุฬา กล่าวต่อว่า หัวใจหลักการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางคมนาคมเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งที่จะพัฒนาเมืองรองในภูมิภาคให้สามารถรองรับความเจริญเพื่อกระจายเป็นเมืองศูนย์กลางควบคู่การขยายประตูการค้าทุกภาค