"ขณะนี้ไม่เหลือแล้ว เกือบเข้าสู่สภาวะปกติ ผมให้เก็บอากาศมาตรวจสอบ วันนี้ที่ตรวจสอบแล้วก็ไม่มีสารที่ปนเปื้อนอยู่กับในน้ำมันเป็นอันตรายต่อร่างกาย ส่วนสารเคมีที่พี่น้องประชาชนวิตกกังวล สารเคมีที่ขจัดคราบน้ำมันก็จะแตกตัวเป็นตะกอน และตกลงไปในท้องทะเล"
เมื่อถามว่า พอตกลงไปในทะเลมีข้อสงสัยว่าจะไปทำลายสภาพแวดล้อมใต้ท้องทะเลหรือไม่ นายวิเชษฐ์ กล่าวว่า สารตะกอนนี้จะไม่สามารย่อยสลายไปได้ด้วยตัวเอง แต่จะใช้แบคทีเรียและแสงอาทิตย์ในการย่อยสลาย ซึ่งถ้าย่อยสลายไปแล้วก็จะเป็นอาหารของสัตว์ทะเล จะใช้เวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับสารเคมีที่ใช้ไป
แบคทีเรียจะอยู่ในทะเลอยู่แล้วจะอยู่ประมาณ 2 วัน จะย่อยสลาย ต้องเรียนว่าไม่น่าวิตกกังวลมาก แต่จากนี้ไป กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะต้องติดตามผลกระทบ ผมให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เวลานี้ได้ส่งนักประดาน้ำ 3 ท่าน ลงไปตรวจสอบน้ำลึกประมาณ 8 เมตร ห่างจากอ่าวพร้าวที่มีปัญหามาก ห่างจากชายฝั่งประมาณ 300 เมตร ขณะนี้ลงไปตรวจปะการังพบว่าปะการัง และยังมีสัตว์น้ำต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นปกติ ในส่วนที่ลงไปตรวจสุ่มยังปกติอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าในส่วนที่ยังไม่ได้ไปตรวจสอบก็จะต้องติดตามต่อไป ได้ตั้งคณะกรรมการเรื่องคณะทำงานติดตามการประเมินสถานการณ์แก้ไข และฟื้นฟูผลกระทบสิ่งแวดล้อมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยขอให้มีนักวิชาการ อาจารย์จากสถาบันต่าง ๆ รวมทั้ง ปตท. เข้ามาติดตามสถานการณ์ และจากนี้ไปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ เรามีคู่มือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน เราดำเนินการอยู่แล้ว และคู่มือประเมินความเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติจากคราบน้ำมัน จากนี้ไปก็จะติดตามผลที่จะมีผลกระทบต่อมา
เมื่อถามว่า ยืนยันว่า ณ วันนี้จุดที่ไปดูคือจุดที่หนักสุดคืออ่าวพร้าวสถานการณ์ไม่ได้มีความรุนแรงเรื่องของสิ่งแวดล้อม นายวิเชษฐ์ กล่าวว่า วิธีการใช้สารเคมีเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าปล่อยให้คราบน้ำมันเข้ามาในอ่าวก็ยิ่งหนัก ฉะนั้นวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วโลก
ด้านนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย มีประสบการณ์และมีแผนเรื่องของการป้องกันสาธารณภัยอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุทางผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไปถึงที่เกิดเหตุพร้อมกับคณะ และตั้งกองอำนวยการส่วนหน้า ซึ่งกองอำนวยการส่วนหน้า ประกอบด้วยทุกภาคส่วน เช่น กองทัพเรือ หน่วย ปตท. หน่วยงานสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ในจังหวัดทั้งหมดก็มารวมตัวกัน และใช้เวทีที่เกาะเป็นจุดที่ดำเนินการบัญชาการต่าง ๆ
ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น เพื่อที่จะประสานคุยกัน และดูว่าการเกิดความเสียหายตรงนี้ ใครเป็นเจ้าของเรื่องบ้าง ใครได้รับผลกระทบ ถ้าเป็นภาคเอกชนก็แนะนำให้เอกชนยื่นแจ้งความเพื่อที่จะทำไว้เป็นหลักฐานว่าเขาเสียหายอะไรอย่างไร ส่วนถ้าเป็นภาครัฐก็มีกฎหมายของแต่ละกระทรวง ซึ่งแต่ละกระทรวงก็จะต้องไปคลิกดูทั้งหมด และจะต้องทำเป็นหลักฐานไว้ให้ชัดเจนว่าจะมีแผนในการดูแลบำรุงรักษาเยียวยาอย่างไร
ส่วนเป็นภาคของท้องถิ่น เขาจะต้องรับผิดชอบและต้องดูเหมือนกันว่าท้องถิ่นเขามีปัญหาอย่างไร จะขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบเข้าไปดูแลเขาได้อย่างไร ทั้งหมดจะเป็นรูปธรรม และจะมีคณะกรรมการ 3 ฝ่ายพูดคุยกัน มองทั้งด้านเกี่ยวกับภาครัฐทั้งหมด ภาคเอกชนทั้งหมด ประชาชนทั้งหมด และรวมทั้งองค์กรกลางที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง และมองไปถึงการท่องเที่ยวในเรื่องของนานาประเทศด้วย ที่เขามองมาที่เรา แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นศูนย์ในการรับเรื่องทั้งหมด และจะเป็นศูนย์กลางในการที่จะรับดูแลเรื่องความเสียหายต่าง ๆ ที่จะต้องรู้อย่างเป็นตัวเลข และจากนั้นก็วางเป็นระบบขึ้นมาต่อไป
" ที่เราตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อให้เข้ามาร้องเรียน ร้องเรียนแล้วคณะทำงานชุดนี้จะช่วยดู และหาทางให้ความเป็นธรรมทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ"
คณะกรรมการ 3 ฝ่ายภาครัฐ ประกอบด้วยทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนตั้งแต่บริษัทที่เป็นเจ้าของเรื่องที่เกิดเหตุ รวมไปถึงภาคเอกชนอื่น ๆ เช่น บริษัทท่องเที่ยว บริษัทประมง เป็นต้น เรายังไม่ทราบว่าภาคเอกชนพวกนี้คือใคร อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มท้องที่คือเทศบาลอำเภอที่อยู่ในตำบลนั้น เขาจะต้องมีส่วนรู้สถานการณ์นั้นดี เขาจะมาเล่าให้เราฟัง แต่ทั้งหมดจะต้องทำเป็นรูปคณะกรรม 3 ฝ่าย รับเรื่องมาและมาช่วยกันดูว่าเราจะแก้ไขเยียวยาฟื้นฟูได้อย่างไรต่อไป