นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างไทย — สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพ การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการ การรับรองมาตรฐานสินค้าตามระบบของสวิตเซอร์แลนด์ หรือระบบที่สวิตเซอร์แลนด์ยอมรับ การสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค รวมทั้งการลดข้อจำกัดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยในสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ยังไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผัก ผลไม้เมืองร้อนต่างๆ ที่ไม่สามารถผลิตได้ในสวิสเซอร์แลนด์ และขาดแคลนผลผลิตในช่วงฤดูหนาว
“ปัจจุบันมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ยังค่อนข้างน้อย และยังมีโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน โดยสมาพันธรัฐสวิสเป็นคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 48 ของไทย ในระหว่างปี 2553 — 2555 มีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรร้อยละ 0.24 ของมูลค่าการค้ารวมสินค้าเกษตรของไทยกับโลก ขณะเดียวกัน จากในปี 2554 และในปี 2555 มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 15.83 โดยปี 2554 มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร 2,952 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 3,495 ล้านบาทในปี 2555 ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับสมาพันธรัฐสวิสมาโดยตลอด โดยสินค้าเกษตรหลักที่มีการส่งออกไปยังสมาพันธรัฐสวิส ได้แก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง ข้าว ถั่วลิสงปรุงแต่ง พืชผักสดหรือแช่แข็ง ผลไม้ต่างๆ เช่น เงาะ ลำไย เป็นต้น"นายยุคล กล่าว