ส่วนกรณีที่จะเสนอของบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต ต้องมีการหารือในที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเป็นประธานพิจารณาก่อน
พร้อมย้ำว่า การแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำด้วยการรับซื้อยางอย่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมชาวสวนยางเรียกร้องเพื่อทำให้ขึ้นราคายางพาราเป็น 120 บาท/กก. ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แม้ว่าจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แต่ทำให้กลไกตลาดและราคายางพาราบิดเบือน กระทบต่อเสถียรภาพราคายางในระยะยาว เนื่องจากราคายางพาราในตลาดโลกขณะนี้มีแนวโน้มตกต่ำ และยางในสต็อกของเราก็ยังมีอยู่ถึง 210,000 ตัน ถ้ารับซื้อเข้ามาอีก จะยิ่งทำให้ราคายางยิ่งตกต่ำมากขึ้นไปอีก
"เราเคยคุยกับเกษตรกรตลอดโดยมีสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นตัวกลาง ก็เข้าใจตรงกันแล้วว่าเราต้องแก้กันที่ต้นทุนการผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้ายางแปรรูปต่างๆ แทนที่จะขายสินค้าต้นน้ำ...เราจะไม่เร่งขายยาง เพราะยังไม่มีคนซื้อ จะไม่รับซื้อจากเกษตรกรเพิ่มเพราะของในสต็อกเยอะ คนซื้อก็ยังไม่ซื้อเพราะสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดี ถ้าทำแบบนั้นราคาจะยิ่งตก"นายยุคล กล่าว
นายยุคล กล่าวต่อว่า ตนพร้อมที่จะคุยกับตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ส่วนสาเหตุที่ไม่เดินทางไปพบปะกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวานนี้ (25 ส.ค. 56) เนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นทางการเมือง
"ยอมรับว่าการชุมนุมดังกล่าวไม่มีแกนนำที่เป็นตัวแทนภาคเกษตรกรจริงๆ มีแต่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น ส.ส.ในพื้นที่ ซึ่งคุยยังไงก็คุยไม่จบ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปแล้ว"รองนายกฯ และ รมว.เกษตรฯ กล่าว