"แนวทางขณะนี้รัฐบาลประกาศชัดเจนว่าจะไม่ระบายยางในสต็อกกว่า 200,000 ตันออกสู่ตลาดเพื่อรักษาระดับราคาไว้และจะเร่งรัดการใช้ในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนมาตรการช่วยเหลืออื่นๆต้องบอกว่ารัฐบาลเข้าใจพี่น้องเกษตรกรเพียงแต่ต้องขอความเห็นใจให้รัฐบาลและเชื่อว่าหลังรับข้อเรียกร้องคงมีการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมกับข้อเท็จจริงและทุกฝ่ายยอมรับได้" นายณัฐวุฒิ กล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะมีประเด็นการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า เชื่อว่าชาวสวนยางตัวจริงแยกแยะปัญหาราคายางกับเรื่องการเมืองได้ ถ้ามีใครพยายามเบี่ยงเบนประเด็นก็ต้องระวังว่าราคาของพรรคการเมืองนั้นจะตกยิ่งกว่าราคายาง
รมช.พาณิชย์ กล่าวต่อว่า การที่ชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้ชุมนุมปิดถนนเรียกร้องราคายางพารา 120 บาท/กก. ก็เนื่องมาจากมติครม.เมื่อวันที่ 24 ม.ค.55 ซึ่งเป็นวันแรกที่ตนทำหน้าที่เห็นชอบโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ให้องค์การสวนยาง (อสย.)ซื้อยางนำราคาในตลาดแล้วขยับขึ้นไปเรื่อยๆโดยมีเป้าหมาย 120 บาท/กก. ซึ่งตัวเลขราคาดังกล่าวตลอดจนรายละเอียดการดำเนินงานเป็นผลมาจากการชุมนุมเรียกร้องราคายางของเกษตรกรที่จ.สงขลาช่วงปลายปี 54 โดยมีตัวแทนชาวสวนยางเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และหาข้อสรุปร่วมกัน
“ครั้งนั้นมีการปรับ ครม.แล้วผมไปทำหน้าที่ในวันที่เห็นชอบโครงการนี้พอดีจึงดำเนินการตามเป้าหมายที่ระบุไว้ไม่ได้เป็นการประกาศราคาใหม่เรื่องนี้ตัวแทนพี่น้องชาวสวนยางที่ร่วมบริหารโครงการทราบดีและรับรู้ขั้นตอนว่าผมพยายามเร่งรัดการปฏิบัติของทุกหน่วยงานให้สามารถนำเม็ดเงินในโครงการมาใช้ให้ถึงมือเกษตรกรโดยเร็วที่สุด"นายณัฐวุฒิ กล่าว